กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ2ส ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 008/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ๖๑.๕๗ , ๔๘.๐๕ , ๔๘.๕๐ , ๗๔.๓๖ และ ๖๔.๔๒ ต่อประชากรพันคน ตามลำดับ, อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ๙.๗๒ , ๑๔.๗๓ , ๓๘.๔๓ , ๒๒.๐๑ และ ๑๙.๓๐ ต่อประชากรพันคน ตามลำดับนอกจากนี้ จากการคัดกรองในชุมชน พบว่า กลุ่มเสี่ยงก่อนเกิดโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๕.๓๕ , กลุ่มเสี่ยงก่อนเกิดโรคเบาหวาน ร้อยละ ๒.๔๓ , กลุ่มที่มีรอบเอวเกินเกณฑ์ ร้อยละ ๓๐.๕๔ , กลุ่มที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ ๔๓.๕๘ , กลุ่มที่ดื่มสุราเป็นประจำ ร้อยละ ๕.๕๔ นอกจากนี้มีกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน ๕ คน อัตราป่วย ๑.๔๘ ต่อประชากรพันคน , ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน ๓ คน อัตราป่วย ๓.๒๔ ต่อประชากรพันคน , โรคมะเร็งปากมดลูก ๑ คน , ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ๓ คน และมะเร็งอื่นๆ 1 คน รวมผู้ป่วยโรคมะเร็ง ๕ คน อัตราป่วย ๑.๔๙ ต่อประชากรพันคน ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการทางกายและการเคลื่อนไหว เป็นภาระให้แก่ครอบครัวและชุมชน ทั้งนี้มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปี ๒๕๕๙ รายใหม่ จำนวน ๒ คน อัตราป่วย ๐.๕๙ ต่อประชากรพันคน , รายเก่า ๖ คน อัตราป่วย ๑.๗๘ ต่อประชากรพันคน ดังนั้นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก ๓อ๒ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค ๓อ๒ส ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2 เพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน

ประชาชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

ประชาชนมีการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๒. วิธีดำเนินการ ๒.๑ ขั้นเตรียมการ ๒.๑.๑ สำรวจและรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์ ๒.๑.๒ ประชุมชี้แจง อสม./จนท.เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
๒.๒ ขั้นดำเนินการ ๒.๒.๑ จัดนิทรรศการแก่ผู้รับบริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของหน่วยบริการ , นักเรียนในโรงเรียน , ประชาชนทั่วไปในชุมชน เช่น ใน มัสยิด ศูนย์อเนกประสงค์หมู่บ้าน ร้านค้าขายของชำ ๒.๒.๒ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ๓อ๒ส ตามวิถีชุมชนบ้านปาเต๊ะ ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มป่วยในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของหน่วยบริการ (จำนวน ๓ หมู่บ้านๆละ ๒ ครั้งๆละ ๔๐ คน) ๒.๒.๓ ประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ และแบบแบบทดสอบความรู้สุขบัญญัติแห่งชาติของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ๒.๒.๔ ประกวดครอบครัวต้นแบบสุขภาพดีโดยทีมสหวิชาชีพของ รพ.สต. ๒.๓ ขั้นประเมินผล ๒.๓.๑ ประเมินจำนวนผู้สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ในแต่ละครั้งของกิจกรรม มากกว่าร้อยละ ๘๐ ของกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับแต่ละกลุ่ม ๒.๓.๒ ประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพจากแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปรียบเทียบก่อน-หลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๒.๓.๓ ผลการประกวดครอบครัวต้นแบบสุขภาพดี อย่างน้อย ๒ ครอบครัวต่อหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย ๓อ๒ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม ๒ กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๓ กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และเกิดกระแสสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
๔ หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2560 15:44 น.