กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบยั่งยืน ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 186,165.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก(Dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยเกิดจากยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งเดิมเชื่อว่าโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน เนื่องจากมีน้ำขังมากซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย แต่ปัจจุบันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้เกิดการระบาดตลอดปี แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มีตัวยารักษา การรักษาจึงทำได้เพียงรักษาตามอาการ และโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดได้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยจะส่งผลให้เกิดการรั่วของพลาสม่าเข้าในช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องท้อง ทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย โดยอาจทำให้เกิดภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด และเมื่อเกิดการเจ็บป่วยไม่เพียงแต่เกิดผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น ยังส่งผลเสียทางด้านเศรษฐกิจด้วย เช่น การต้องหยุดงาน ขาดรายได้ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การเดินทาง ฯลฯ ซึ่งจากข้อมูลสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2557 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 40,278 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.33 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 41 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.06 ราย ปี 2558 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 142,925 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 219.46 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 141 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.1 ราย ปี 2559 ตั้งแต่ 1 มกราคม - 22 พฤศจิกายน 2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 55,872 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 85.40 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 42 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.09 ราย สถานการณ์จังหวัดสงขลา ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 2,402 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 175.69 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.08 ราย ปี 2559 ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 4,073 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 289.70 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.20 ราย และจากข้อมูลระบาดวิทยา ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2557-2559) ในพื้นที่ตำบลท่าชะมวงยังพบมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลท่าชะมวง ดังนี้ ปี 2557 มีจำนวนผู้ป่วย 20 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 117.11 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต ปี 2558 มีจำนวนผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 97.05 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิตและ ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วย 60 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 368.10 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต ตามลำดับ และพบว่า การระบาดของโรคจะมีการระบาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม เมื่อพิจารณาทางด้านระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในประเทศไทย โรคไข้เลือดออกเดงกี่มีรายงานการระบาดครั้งแรกในประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2501 และตั้งแต่ ปี พ.ศ.2501-2545 สถานการณ์การาะบาดของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและจากนั้นปริมาณผู้ป่วยมีจำนวนคงตัว โดยการระบาดมีหลายลักษณะ เช่น ระบาดปีเว้นปี ปีเว้น 2 ปี หรือระบาดติดต่อกัน 2 ปี แล้วเว้น 1 ปี แต่ในระยะหลังพบว่า การระบาดมีแนวโน้มระบาด 2 ปี เว้น 2 ปี อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี อัตราส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชายใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข http://nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=12 : สืบค้นเมื่อ 10-15 ธันวาคม 2559) จากข้อมูลการระบาดวิทยาสามารถคาดการณ์ได้ว่า ปี 2560 สถานการณ์ของโรคยังคงมีโอกาสมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูง ซึ่งยังคงต้องดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกต่อไป ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 67 กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (3) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ดังนั้น การดำเนินงานด้านเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการระบาดซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูง และส่งผลให้เกิดการสูญเสียทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และทางจิตใจแก่ประชาชนในพื้นที ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง ซึ่งได้ตระหนักถึงความรุนแรงและอันตรายจากโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบยั่งยืนปี 2560 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาตามข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของชุมชน

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

3 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    • ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
    • จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
  2. ขั้นดำเนินการ

    • จัดประชุมคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ อบต. ,เจ้าหน้าที่จากทุก รพ.สต.ในพื้นที่,อสม.และผู้นำชุมชน เพื่อวางแผนดำเนินงานการควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีกิจกรรมในการดำเนินการในชุมชน ดังนี้
    1. การดำเนินการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกก่อนการระบาด 1.1 กิจกรรมที่ 1 การพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยในสถานศึกษาและกิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 1.1.1 ประสานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง และประธานอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 15 หมู่บ้าน เพื่อแจ้งแผนดำเนินการในสถานศึกษา 1.1.2. ประสานงานสถานศึกษาเพื่อเข้าทำกิจกรรม ประกอบไปด้วย โรงเรียนประถมศึกษา
    • การให้ความรู้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคความรู้
    • กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
    • กิจกรรมมือปราบน้อยยุงลาย (สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน)
    • พ่นละอองฝอย/พ่นหมอกควัน

    1.2 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยเอกสารแผ่นพับความรู้และรถประชาสัมพันธ์ 1.2.1 ประชุมย่อยรายหมู่บ้านเพื่อกำหนดแผนและเส้นทางการแจกเอกสารความรู้ทุกหลังคาเรือน โดยกำหนดเป็นกิจกรรม "วันรณรงค์กำจัดยุงลายเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก" 1.2.2. แจกเอกสารความรู้ทุกหลังคาเรือนและโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิทยาลัยตามหมู่บ้านโดยประกอบไปด้วย

    • วัฏจักรยุงลาย
    • การกำจัดและทำลายยุงลายโดยใช้หลัก 5 ป 1 ข
    • การเกิดโรคไข้เลือดออก
    • วิธีการใช้ทรายเคมีฟอส
    • แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและนอกบ้าน

    1.3 กิจกรรมที่ 3 การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนโดยวิธีทางกายภาพและทางเคมีทุกเดือน 1.3.1 กำหนดให้ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ส่งเสริมและสร้างแรงกระตุ้นให้กับบ้านที่รับผิดชอบโดยใช้หลัก "บ้านตัวเองต้องดูแลตนเอง จะให้ใครดูแล"
    1.3.2. ร่วมรณค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมกันรายหมู่บ้านพร้อมทั้งสนับสนุนทรายอะเบทให้บ้านเรือนที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำไม่สามารถกำจัดโดยวิธีทางกายภาพ 1.3.3. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ายุงลายทุกๆ 6 เดือน (กพ. สค.)

    1. การดำเนินการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกขณะระบาด 2.1 กิจกรรมที่ 1 ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก 2.1.1. ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข และสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่โดยกำหนดรูปแบบการดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกขณะระบาดโดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1.1.1 รับแจ้งจากโรงพยาบาลรัตภูมิ/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ(ศูนย์ควบคุมโรคระบาดอำเภอรัตภูมิ) หรือโรงพยาบาลเอกชน คลีนิก (มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร) 2.1.1.2 ดำเนินการลงพื้นที่โดยทำงานร่วมกัน คือ อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่รับผิดชอบและกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้
    • สอบสวนโรคไข้เลือดออก
    • ให้ความรู้รายบุคคลและรายกลุ่ม
    • สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายร่วมกับเจ้าของบ้านที่เป็นโรคและบริเวณในรัศมี 100 เมตร ทั้งทางกายภาพและเคมี
    • ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย เพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย
  3. ขั้นประเมินผล

    • สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
    • สรุปปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน พร้อมเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตลอดปี โดยมีค่า HI และ CI ในแต่ละหมู่บ้านไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ค่า CI ในสถานที่ราชการ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และวัด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  3. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง จากค่ามัธยฐานเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี
  4. ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
  5. ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 09:49 น.