กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
รหัสโครงการ 62-L8010-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
วันที่อนุมัติ 18 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 194,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 464 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เป็นการสนับสนุนระบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มากขึ้น สนับสนุนให้ชุมชน    มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนด้วยตนเอง สนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากร  ด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหารในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่
      ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสม ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม การติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกองทุน การประเมินความพึงพอใจและการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านการพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
  • การบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+
  • คณะกรรมการกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีความรู้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ
  • กองทุนฯ มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของเงินในบัญชีทั้งหมดในปีงบประมาณนั้นๆ
0.00
2 เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10
  • กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ    หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในพื้นที่มีความครอบคลุมทุกประเภท ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  • กองทุนฯ มีการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 25 ของงบประมาณกองทุนฯ
  • กองทุนฯ มีการสนับสนุนงบประมาณ ให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่  ในการดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของงบประมาณกองทุนฯ
  • กองทุนฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ        การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ  เชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของเงินรายรับประจำปีงบประมาณ

  • กองทุนฯ มีการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ในการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินรายรับประจำปีงบประมาณ+        งบสนับสนุนของ LTC

  • กองทุนฯ มีการมีการดำเนินการ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก กรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาดในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า  ร้อยละ 10 ของงบประมาณกองทุนฯ
0.00
3 เพื่อสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
  • มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน อย่างน้อย 1 นวัตกรรม
0.00
4 เพื่อพัฒนากองทุนฯให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก
  • มีกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานภายนอก  มาเรียนรู้/ศึกษาดูงานกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน/ปี
0.00
5 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและกิจกรรมธรรมนูญสุขภาพในระดับหมู่บ้านหรือตำบล
  • เกิดธรรมนูญสุขภาพระดับหมู่บ้านหรือตำบลในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 และเพิ่มขึ้นทุกปี จนครบร้อยละ 100 ในปี 2566
0.00
6 เพื่อสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  • กองทุนฯ มีการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  ร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 96,355.00 20 90,539.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 2 ครั้งๆละ 6 หมู่บ้าน (จำนวน 12 หมู่บ้าน) 0 19.00 4,452.00
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 1 ครั้ง 0 24.00 -
1 ก.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง 0 21.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการทุกคณะ 0 48.00 13,120.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา ครั้งที่ 1 0 42.00 5,750.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ครั้งที่ 1 0 20.00 3,294.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม ครั้งที่ 1 0 18.00 3,857.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง ครั้งที่ 1 0 7.00 625.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 4/2561 0 23.00 5,290.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 0 9,950.00 6,405.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ และที่ปรึกษา ครั้งที่ 1/2562 0 10,550.00 7,224.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา ครั้งที่ 3 0 10,550.00 7,488.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา ครั้งที่ 4 0 10,550.00 7,910.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม ครั้งที่ 2 0 5,850.00 4,595.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม ครั้งที่ 3 0 5,850.00 4,134.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 1/2562 0 11,420.00 4,525.00
1 ต.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 ประชุมคัดเลือกตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขฯ 0 2,750.00 2,750.00
1 ต.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 ประชุมคัดเลือกผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน 0 1,625.00 1,625.00
1 ต.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 ประชุมคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น 0 425.00 650.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง ครั้งที่ 2 0 2,225.00 800.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง ครั้งที่ 3 0 2,225.00 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ครั้งที่ 2 0 4,850.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ครั้งที่ 3 0 4,850.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ครั้งที่ 4 0 4,850.00 -
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล ครั้งที่ 2/2562 0 7,613.00 6,045.00

ขั้นเตรียมการ

  1. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนฯ
  2. แจ้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล คณะทำงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ

ขั้นดำเนินการ

  1. ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้

    กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ

    กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และที่ปรึกษา จำนวน 4 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 4 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณา กลั่นกรองแผนงาน โครงการ กิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 5 ประชุมชี้แจงผู้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ และจัดทำบันทึกข้อตกลง จำนวน 3 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล จำนวน 2 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 7 ประชุมการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกำแพง จำนวน 2 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 8 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในพื้นที่ จำนวน 1 ครั้ง

    กิจกรรมที่ 9 ดำเนินการจัดทำธรรมนูญตำบลกำแพง

  1. การจัดทำเอกสาร แผ่นพับ

  2. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ขั้นสรุปผลและประเมินผล

  1. สรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
  2. ประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กองทุนฯ มีการบริหารจัดการหรือพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และมีผลการประเมินการบริหารจัดการอยู่ในระดับ A หรือ A+
  2. ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงกองทุนฯ ทุกกลุ่มวัย และกองทุนฯให้การสนับสนุน และส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการจัดบริการสาธารณสุข ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 ครอบคลุมทุกภาคส่วน
  3. เกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพหรือสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และยั่งยืน
  4. กองทุนฯ มีการพัฒนากองทุนฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้/ศึกษาดูงานแก่หน่วยงานภายนอก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  5. กองทุนฯ ได้สนับสนุนให้เกิดธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลในพื้นที่
  6. กองทุนฯ ได้สนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2561 14:42 น.