กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั้งยืน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปะเสยะวอ
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเล๊าะ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) สืบเนื่องจากหลายทศวรรษที่ผ่านมา สภาวะทางสังคมการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป จนเกิดโรคติดต่อที่เป็นโรคประจำถิ่น หรือ โรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งหมายความรวมถึงโรคติดต่ออุบัติซ้ำ เชื้อก่อโรคที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ เช่น โรคติดต่อที่ป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โรคติดต่อที่ก่อให้เกิดอันตรายในมนุษย์มีสาเหตุมาจากสัตว์หรือสัตว์ป่า และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองที่และบุคคลในครอบครัวที่เหมาะสม และตำบลปะเสยะวอเป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยไข้เลือกออกจำนวน3ราย คิดเป็นร้อยละ 53.37 และพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่จำนวน 2 ราย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ทางกองกองทุนสุขภาพตำบลตำบลปะเสยะวอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วนร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคระบาดร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคระบาดประจำท้องถิ่นให้ได้ตามมาตรฐานกรมควบรุมโรค

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559 หรือไม่เกิน 5 รายทั้งตำบล

2 เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคโดยชุมชน

ร้อยละ80ของหมู่บ้านมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ10

3 เพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชนได้แก่ โรคไข้เลือกออก โรคเรื้อน

ร้อยละ100ของโรงเรียนและวัดมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเท่ากับ0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้า 3 เดือน/ครั้ง

2.อบรมเยาวชนให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและจัดตั้งชมรมเครือข่ายเยาวชนต้านภัยโรค

3.เครือข่ายเยาวชนรณรงค์โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเดือนละ 1 ครั้ง

4.ปฏิบัติการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ทุก หมู่บ้าน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

5.ทีม SRRT ทุกหมู่บ้าน สำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลาย ร่วมวิเคราะห์ ค่า HI CI และเร่งรัดดำเนินการทำลายแหล่งเพาะ

6.ทีม SRRT ทุกหมู่บ้าน ออกดำเนินการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง หลังได้รับรายงานหรือพบผู้ป่วยที่น่าสงสัยในหมู่บ้าน โดยการพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วยและรอบๆ บ้าน รัศมี 150 เมตร พร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย 7.จัดกิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ราชประชาสมาสัยในหมู่บ้านเป้าหมาย โดยการจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่ประชาชน

8.อบรมแกนนำตำบลให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อนและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ 9.ดำเนินการสอบสวนโรคโดยทีม SRRT

10.ประเมินความรู้ของประชาชนโดยแบบทดสอบความรู้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคในพื้นที่

  2. ประชาชนมีความรู้โรคระบาดที่ถูกต้อง สามารถการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 11:28 น.