กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน ปี 2560
รหัสโครงการ 04/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.906,101.912place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและมีผลกระทบต่อประชาชนที่รุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไมาได้รับการการรักษาที่ถูกต้องและมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วถ้ามีพาหนำโรค วึ่งในปีงบประมาณ 2558 - 2560 เน้นการดำเนินการ นรูปแบบบูรณาการ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนหน่วงงานของรัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคดังกล่าว ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุดจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้การควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน และควบคุใโรคดังกล่าว จึงได้เสนอเพื่อจัดทำโครงกรนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ทำโครงการเสนอองค์การบริหารส่วนตำบลฆอเลาะ 2.ของบสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลฆอเลาะ 3.ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง และกำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการดำเนินการ 4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 5.ดำเนินงานกิจกรรมดังนี้ ก่อนการระบาด -ประสานความร่วมมือและดำเนินงานในรูปแบบภาคี ภาครัฐ เอกชนและประชาชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพในการ เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออก -สถานบริการสาธารณสุขจัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสร้างความตระหนักโดยจัดกิจกรรมสอดคล้องแทรกการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลายในกิจกรรมต่างๆของหน่วยงาน -อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย hibici ในชุมชนและโรงเรียนทุกเดือน / ทุกแฟห่ง -พ่นหมอกควันในโรงเรียนทุกแห่ง ก่อนเปิดเทอมและหลังเปิดเทอม
-เจ้าหน้าที่ร่วมกับชุมชนออกพ่นหมอกควันในโรงเรียนที่คาดว่าจะมีการนำเชื้อโรคไข้เลือดออกเข้ามาและเกิดการแพร่ระบาดของโรคทุก 2 เดือน อย่างต่อเนื่องหรือตามความจำเป็นและเหมาะสม -มีการสาธิตและทำน้ำหมักชีวภาพไล่ยุงไว้ใช้ในครัวเรือน -อบรมสาธิตและฝึกปฎิบัติการใช้วัดสดุ อุปกรณืในการควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ภาคีเครือข่าย ขณะระบาด - สอบสวนโรคค้นหาผู้ป่วยและแจ้งข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้อทราบ - ให้สุขศึกษาและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง ในจุดที่เกิดโรครัศมี 100 เมตร -พ่นหมอกควันทำลายตัวแก่ยุงลายในเกิดโรครัศมี 100 เมตรจนกว่าสถานการณ์โรคจะสงบ - เฝ้าระวังโรคต่อไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังระบาด -เฝ้าระวังโรคในผู้ป่วยรายใหม่ - ให้สุขศึกษาและให่้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์และการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ประชาชนได้รับข่าวสารและมีความรู้เรื่องความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถนำไปปฏิบัติได้ 3.ค่าดัชนีชี้วัดbi ci hi ในชุมชนและโรงเรียนมีค่าอยู่ในระดับดีหรือดีมาก 4.เกิดความร่วมมือของหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่ายทั้งภาค เอกชน และประชาชนในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก 5.ชุมชน โรงเรียน หน่วยงานต่าง และภาคีเครือข่ายมีการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 13:37 น.