กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสารเห็ด
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2561 - 22 ตุลาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 22 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 7,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านสารเห็ด
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ธัญญลักษณ์ ชื่นฤทัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 12.801,99.732place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
40.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
60.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลทำให้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป  คนไทยเผชิญกับโรคภัยที่เรียกว่าโรควิถีชีวิต (Lifestyle Diseases) โรคไม่ติดต่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุ เป็นต้น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งหากดูแลสุขภาพไม่ดีจะนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนด้วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ตาบอดจากเบาหวาน และภาวะไตวายเรื้อรัง การลดภาวะความรุนแรงของโรคในกลุ่มนี้ให้ได้ผลนั้น  ต้องมุ่งเน้นที่การป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) ที่ดำเนินงานป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยงแบบผสมผสาน ส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัยของชีวิต ในบุคคล ครอบครัวและชุมชนที่อาศัยการดำเนินงานเชิงรุกสู่การลดปัจจัยเสี่ยงร่วมระดับประชากรทั่วไปในชุมชน
ปี ๒๕๕๘ จังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๘๔.๐๖ และโรคเบาหวาน ร้อยละ ๘๔.๑๒ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ ๙๐) อำเภอท่ายางได้ดำเนินการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายได้ร้อยละ ๘๓.๑๐ รพสต.บ้านสารเห็ดได้ร้อยละ 88.64 และมีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 18 คน กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 302 คน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 25 คน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบภาวะสุขภาพของตนเอง และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระยะแรก รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพแข็งแรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย โดยการตรวจคัดกรองและการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รพสต.บ้านสารเห็ด จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

80.00
2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์

80.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,400.00 1 7,320.00
21 - 22 ส.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 5,400.00 7,320.00

๑. จัดทำแผนงาน/โครงการ 2. ขออนุมัติโครงการและขอใช้เงินบำรุง 3. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน 4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้ 4.1 ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสม ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย 4.2 การฝึกปฏิบัติ การสาธิตประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย การฝึกจิต 4.3 การควบคุมน้ำหนัก และการคิดค่าพลังงานอาหาร 5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ๒. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2561 15:20 น.