กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2479-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 240,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 637 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
7.96
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
18.00
3 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
32.00
4 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
48.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันเราอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมประชาชนจะมีบทบาททางสาธารณสุขมากขึ้นสังเกตได้จากการเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติสาธารณสุขแห่งชาตินอกจากนี้ท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่าง ๆก็จะมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้นเป็นลำดับตามแนวทางการกระจายอำนาจ ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้ให้คำนิยามการจัดบริการสาธารณสุขว่า การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงินการทำบัญชีและรายงาน โดยสนับสนุนและส่งเสริมในประชาชนทุกคนโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่     ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์๒๕๕๗ข้อ๗ (๔) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณ หรือ หรือ ร้อยละ 20 ถ้ากรณีมีระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ของดูแลผู้ป่วย นั้นเพื่อให้การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต มีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและท้องถิ่น สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ๒๕๖2 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.61 ร้อยละ 90
7.96 5.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

18.00 22.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

32.00 50.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

48.00 48.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ที่ปรึกษา 21 50,400.00 30,800.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต 5 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต 5 6,000.00 1,000.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต 10 6,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ค่าตอบแทนพี่เลี้ยงกองทุนฯ 1 2,400.00 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ค่าเดินทางไปราชการรวมถึงค่าลงทะเบียน 36 6,910.00 0.00
18 ก.ย. 62 ค่าจัดการทำแผนกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2563 200 25,600.00 25,600.00
21 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรภาคประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ 140 33,425.00 33,425.00
23 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการอย่างง่าย 80 25,525.00 25,525.00
23 ก.ย. 62 กิจกรรม จัดซื้อวัสดุ และคุรุภัณฑ์ 36 10,000.00 8,250.00
24 ก.ย. 62 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนสุขภาพตำบล 100 14,600.00 14,600.00
25 ก.ย. 62 จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 21 22,000.00 22,000.00
25 - 27 ก.ย. 62 อบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ที่ปรึกษา 29 34,140.00 34,140.00
รวม 684 240,000.00 13 201,340.00
  1. วิธีดำเนินการ 2.1 กิจกรรมเตรียมความพร้อมโครงการ 2.2 จัดทำโครงการเสนอประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบูกิต เพื่อพิจารณาเห็นชอบ และอนุมัติให้ 2.3 ส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
      2.3.1 ประชาคมจัดทำแผนสุขภาพตำบล   2.3.2 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง ต่อปี   2.3.3 สนับสนุนให้ประชาชนทั่วไป ให้รับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล 2.4 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
      2.4.1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยหลักสูตรภาคประชาชนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ   2.4.2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการอย่างง่าย   2.4.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนสุขภาพตำบล 2.5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้เสนอโครงการได้รับงบจากกองทุนฯ 2. ผู้ได้รับทุนได้รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ 3. คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุนได้รับการพัฒนาศักยภาพ 4. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2561 20:32 น.