กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
รหัสโครงการ 59-L4127-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2559 - 30 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวโซเฟียนีสูแว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7245 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมมือดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และมีแนวโน้มในการเกิดโรคสูงขึ้นมาโดยตลอด ดังนั้นกลวิธีในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำพาหะโดยยุง คือรณรงค์ให้เด็กนักเรียนและชาวบ้านกำจัดลูกน้ำทุกๆ วันสุกร์ และต้องดำเนินการกำจังและควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน มัสยิด บ้านและในชุมชนโดยตระหนักถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังโรค และต้องมีการดำเนินการควบาคุมเชิงรุกให้เข้มข้น หากมีการระ บาดขึ้นในชุมชน จะต้องรู้อย่างรวดเร็ว และลงมือควบคุมโรคทันที่ โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงทำลายลูกน้ำ และพ่นหมอกควันและสารเคมีติดผนัง้งในชุมชน โรงเรียน เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดซ้ำอีก โรคไข้มาลา่เรียก็นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลอย่างยิ่งต่อการบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในทุกมิติสุขภาพ ทั้งนี้เพราะด้วยพยาธิสภาพของโรคสามารถเกิดได้กับทุกกลุ่มอายุ และมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไมได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที รวมทั้งสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วถึงยากต่อการควบคุมป้องกัน โดยจากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า อัตราป่วยทั้งประเทศในช่วงครึ่งปีแรก อยู่ที่ 228.80 ประชากรต่อแสนและสำหรับสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียในตำบลบาเจาะ ในปี 2557 (ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม) พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย จำนวน 75 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,010.23 ประชากรต่อแสนคน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสถานการณ์โรคมาลาเรียก็ยังมีการระบาดอยู่เรื่อยๆ ทุกปีประกอบกับสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศในตำบลบาเจาะ ทีเหมาะต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของโรคไข้มาลาเรีย ในปีหนึ่งๆ มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียเป็นจำนวนมาก จากการทำงานร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ กับ อบต. และนคม. ที่ได้เข้ามาดูแลโรคไข้มาลาเรียในตำบลบาเจาะ ปัยหาที่พบมากที่สุด คือประชาชนไม่ได้เล็งเห็นถึงการป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ เกิดแนวคิดที่จะสร้างจิตสำนึกในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน ให้มีความรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรักษาตนเองอย่า่งต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามกลวิธีเมืองน่าอยู่จึงได้มีการจัดทำโครงการ "โครงการรณรงค์ป้งอกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 30 ต่อแสนประชากร
  1. ร้อยละของการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย
2 2. เพื่อป้องกันและควบคุมดรคไข้มาลาเรียอย่างรวดเร็ว
  1. ร้อยละของการป้องกันและควบคุมโรคไข้มาลาเรีย
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4 4. เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชน องค์กรในชุมชน ร่วมกันปลอดลูกน้ำยุงลาย
  1. ร้อยละของการสร้างความร่วมมือของประชาชน องค์กรในชุมชน ร่วมกันปลอดลูกน้ำยุงลาย
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สนับสนุนเครื่องพ่น/น้ำยาชุบมุ้งและสารเคมี
  2. ส่งเสริมให้ประชาชนได้นอนกามุ้งที่ชุบน้ำยา
  3. เจาะเลือดประชาชนในพื้นที่ A1,A2
  4. รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงทุกๆ วันศุกร์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 300 ต่อแสนประชากรโดยประเมินจากรายงาน 506 และรายงาน 507 ของ CUP บันนังสตาเป็นรายเดือน
  2. ประชาชนมีความเข้าใจใมนเรื่องไข้มาลาเรียและสามารถตอบคำถามโรคไข้มาลาเรียได้
  3. การมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชนโดยประเมินจากการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทานยาครบถ้วน โดยประเมินจากการทำแบบบันทึกการติดตามกินยา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ