กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย 0-5 ปีสุขภาพดีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
รหัสโครงการ 62-L4135-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี
วันที่อนุมัติ 17 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมคิด สุวรรณสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.487,101.305place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ช่วงเดือนตุลาคมมีการระบาดของโรคหัดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมดและควรได้รับตรงเวลาอีกด้วย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นในจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส เช่น โรคคอตีบและโรคหัดซึ่งทำให้เด็กตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กที่เสียชีวิตนั้นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลยแม้แต่ครั้งเดียวจึงไม่มีภูมิต้านทานโรค ในพื้นที่ตำบลบุดี พบว่ามีอัตราการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการดำเนินงานใน ปี 2561 ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเด็กอายุ 1 ปีคิดเป็นร้อยละ 91.58เด็กอายุ 2 ปี ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 91.49 เด็กอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 81.33 และเด็กอายุ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 90.79 ตามลำดับ พบว่ามีความครอบคลุมต่ำกว่า ร้อยละ 95 ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน(จากการวิเคราะห์ในเวทีประชาคม) จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อค้นหาและนำเด็กที่รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมารับบริการให้ครบตามเกณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดีตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนเพื่อค้นหาและนำเด็กที่รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมารับบริการให้ครบตามเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ผู้ปกครองที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก อายุ 0-5 ปี

เด็กอายุครบ 5 ปี ในปี 2562 ได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 17,000.00 2 17,000.00
4 ก.พ. 62 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 20 700.00 700.00
6 - 7 ก.พ. 62 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 100 16,300.00 16,300.00
  • ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการประชุมชี้แจง เรื่องอันตรายของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และอสม.ในการมีส่วนร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีน ตระหนักถึงความจำเป็นของการได้รับวัคซีนในการป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  • สำรวจข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 0-5 ปี) ที่ไม่ได้มารับวัคซีนตามนัด
  • จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี แจกคู่มือหรือแผ่นพับ เรื่อง โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจในการรับวัคซีน
  • อสม.ลงเยี่ยมบ้านและติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดทุกสัปดาห์ ประสานผู้นำศาสนา/ผู้นำชุมชน กรณีเด็กไม่ยอมรับวัคซีน และจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนผ่านสื่อต่างๆ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0-5 ปี
  2. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  3. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 90
  4. เด็กที่ไม่ยอมรับวัคซีนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 00:00 น.