โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสำหรับนักเรียน โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสำหรับนักเรียน โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ |
รหัสโครงการ | 61 – L7452 – 2 – 28 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ |
วันที่อนุมัติ | 1 กรกฎาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 มีนาคม 2562 |
งบประมาณ | 41,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซุฮินี ซาเระ เลขานักเรียนชมรมธนาคารขยะ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางนาอีมะห์ อุชะมิ ประธานชมรมธนาคารขยะ โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.523,101.181place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 170 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในปี 2561 พบว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – มีนาคม 2561 พบว่าสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทุกจังหวัดเสียชีวิต 3,368 ราย บาดเจ็บ 208,069 ราย รวมทั้งหมด 211,437 ราย จังหวัดยะลาอยู่ในลำดับที่60 เสียชีวิต 21 ราย บาดเจ็บ 1,229 ราย รวมทั้งหมด 1,250 ราย พบการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในเขตเทศบาลนครยะลา(ข้อมูลศูนย์อุบัติเหตุเพื่อ เสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยทางท้องถนน) จากสถิติของโรงเรียนพบว่ามีจำนวนนักเรียนเสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บเฉลี่ย 31 คนต่อปีและการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือที่เรียกทั่วไปว่า ซีพีอาร์ (CPR : Cardiopulmonary Resuscitation) มีประโยชน์มากที่สุดในการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน การช่วยซีพีอาร์ ให้ผู้ป่วยอย่างถูกวิธีจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ โดยการช่วยแก้ไขระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ การเสียชีวิตจะเกิดหลังจากที่ผู้ป่วยหยุดหายใจ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนที่จะไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญโดยเฉพาะสมอง ซึ่งจะมีผลทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้การทำ ซีพีอาร์ ยังสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภันสึนามิ โคลนถล่ม ตึกถล่ม น้ำท่วม ไฟไหม้ ลมพายุ และผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ เป็นต้น เป็นการต่อระยะเวลาของผู้ป่วย เพื่อรอให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ลดการเกิดเสียชีวิตและความพิการ จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพ และการสูญเสียทรัพย์สิน การเกิดความพิการส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก การขับขี่ปลอดภัยเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ในนักเรียนบุคลากร สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวและคนรอบข้างได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 มีความรู้และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
|
100.00 | |
2 | ข้อที่ 2 ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องกฎการจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
|
80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
??/??/???? | กิจกรรมที่1 จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับคณะอาจารย์ จำนวน 20 คน เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ | 0 | 1,000.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่ แกนนำนักเรียนและบุคลากรการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น จำนวน 150 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 20 คน รวม 170 คนระยะเวลา 1 วัน | 0 | 37,300.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์และติดตามเฝ้าระวังอุบัติเหตุของนักเรียนและบุคลากรที่ใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะ และทบทวนการช่วยฟื้นคืนชีพ หลังการอบรม 6 เดือน | 0 | 3,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 41,300.00 | 0 | 0.00 |
นักเรียนและผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ความรู้และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างถูกต้อง และความรู้เรื่องกฎการจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รวมถึงสามารถถ่ายทอดความรู้สู่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2561 13:46 น.