- ผลการดำเนินงาน
ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
- พัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมในเชิงรุก โดย
การบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
พัฒนาศักยภาพพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กในครอบครัว มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ปฐมวัย
โดยมีการทำโครงการเพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังนี้
- จัดให้มีการประชุมอบรมพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ พฤติกรรม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ณ มัสยิดบ้านปะกาลือสง ในการจัดประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 100 คน
- ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในหมู่บ้านตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2559 – กันยายน 2560 ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลหนองจิก เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปะกาลือสง
- มีการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาควบคู่กับการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย
จำนวนเด็กปฐมวัย หรือเด็ก 0 – 6 ปี ในพื้นที่ ทั้งหมด 150 คน
เด็กที่ได้รับการคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการ จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 82.67 คน
ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์
/• บรรลุตามวัตถุประสงค์
• ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ ...............................................................................................................
........................................................................................................................................................................................
2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ...ทั้งหมด.........224............................................... คน
- การเบิกจ่ายงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ................10,000.................. บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x 40 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าไวนิล เป็นเงิน 1,000 บาท
งบประมาณเบิกจ่ายจริง .................10,000................. บาท คิดเป็นร้อยละ ......100...............
งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ .....................-........................... บาท คิดเป็นร้อยละ ........-...................
- ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
• ไม่มี
/• มี
ปัญหา/อุปสรรค
- อสม.ขาดทักษะ ประสบการณ์ในการดำเนินงาน
- เป็นโครงการที่มีการดำเนินงานระยะยาว ต้องมีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง เพราะการคัดกรองเด็กต้องมีการรุกชุมชน และบูรณาการร่วมภาคประชาชนและรัฐ
- เด็กบางคนไม่อยู่ในพื้นที่ ไปๆมาๆ
แนวทางการแก้ไข
- หน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลหนองจิก องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง หรือคณะกรรมการกองทุนฯ ตำบลตุยงเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน
- ในการออกชุมชนของหน่วยงานราชการ ควรมีแผนการดำเนินงานบูรณาการ เช่น ได้ในเรื่องของวัคซีน โภชนาการ คัดกรองพัฒนาการเด็ก เป็นต้น
- ควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง และนัดวันที่เด็กพร้อม กรณีที่เด็กไปๆมาๆ
- การดำเนินงานต้องมีการประสานงานกับผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานราชการในพื้นที่