กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนบ้านโคกม่วง
รหัสโครงการ 60-L3065-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 7 ตำบลตุยง
วันที่อนุมัติ 30 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 7 ตำบลตุยง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.832,101.178place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมมีการแข่งขันกันสูง ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปด้วยส่งผลให้ประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถยอมรับและปรับตัวได้ มีปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้สูงขึ้น ซึ่งในอดีตการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต มุ่งเน้นที่การบำบัดรักษาภายในสถานบริการ และเน้นที่ตัวผู้ป่วย แต่ปรากฏว่า สถิติปัญหาสุขภาพจิตไม่ได้ลดน้อยลง จึงทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตในปัจจุบัน ได้เน้นการปฏิบัติกับครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นการดูแลบุคคลทั้งระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแล
การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน เป็นงานที่ทำได้ยาก เนื่องจากขณะที่ผู้ป่วย จะมีพฤติกรรมทางสังคมบกพร่อง มีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และอาจทำร้ายผู้ดูแล ญาติ และคนในชุมชนได้อีกทั้งการดำเนินโรคของผู้ป่วยจิตเวชมีระยะเวลายาวนาน จึงมักพบว่า ญาติหรือผู้ดูแลมักจะเกิดความรู้สึก เบื่อหน่าย ท้อแท้ ในการดูแลผู้ป่วย ในขณะที่ชุมชนเองก็มีความรู้สึก กลัว ระแวง หรือรังเกียจ ส่งผลให้ผู้ป่วยถูกทอดทิ้ง หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริมการช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชน โดยคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถยอมรับ และปรับตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข ญาติมีความรู้มีทักษะในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแกนนำและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนบ้านโคกม่วง ให้สามารถค้นหาและคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในเบื้องต้นได้ และส่งต่อสู่ระบบบริการสาธารณสุขได้อันจะทำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบโดยคนในชุมชนเพื่อชุมชน ท้ายที่สุดสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนบ้านโคกม่วง
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่รับการรักษาต่อเนื่อง
    1. ร้อยละ 80 ของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแล
    2. ร้อยละ 70 ของแกนนำและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนสามารถให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจได้
2 แกนนำสามารถค้นหาและคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในเบื้องต้นได้
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่รับการรักษาต่อเนื่อง
    1. ร้อยละ 80 ของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแล
    2. ร้อยละ 70 ของแกนนำและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนสามารถให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจได้
3 แกนนำสามารถส่งต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตสู่ระบบบริการสาธารณสุขได้
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่รับการรักษาต่อเนื่อง
    1. ร้อยละ 80 ของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแล
    2. ร้อยละ 70 ของแกนนำและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาสุขภาพจิตชุมชนสามารถให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจได้
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กำหนดวางแผนร่วมกับทีมทำงานในชุมชน
    1. ทำเวทีคืนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจค้นหาปัญหา และได้วางแผนดำเนินการแก้ไข โดยชุมชนเป็นคนคิดและวางแผนแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการดูแลผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิตในชุมชนบ้านโคกม่วง ตำบลตุยง
    2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
    3. กำหนดจัดกิจกรรมในชุมชน โดยยึดบริบท ประเพณีและวัฒนธรรมในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความเชื่อมั่นและการเข้าถึงกิจกรรมของประชาชนในเครือข่าย
    4. ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 5.1 สร้างทีมดูแลสุขภาพจิต โดยมีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและคนรอบข้าง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเยียวยาจิตใจตนเองและผู้อื่นได้ แก่แกนนำชุมชนบ้านโคกม่วง ตำบลตุยง 5.2 มีการลงเยี่ยมผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตและผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิต ร่วมกันโดยคนในชุมชนและทีมสุขภาพจิตบ้านโคกม่วง (นิยาม) ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต หมายถึง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง/บ้าน/สังคม และรวมทั้งครอบครัวของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย (นิยาม) ผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางสุขภาพจิต หมายถึง ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล และโรคทางจิตอื่นๆ
  2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการดำเนินกิจกรรม และวางแผนพัฒนางานต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชที่อาศัยในพื้นที่ได้รับการดูแลจากชุมชน
    1. ชุมชนมีความรักและสามัคคีให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    2. ประชาชนบ้านโคกม่วงมีสุขภาพจิตดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2560 15:42 น.