กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างแรงจูงใจในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฮาซานีสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.603,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของพี่น้องประชาชนคนไทย อัตราตายมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งปากมดลูก พบมากที่สุดในสตรีไทยเมื่อทราบว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายคนสับสนและตื่นตระหนก เพราะเข้าใจว่าโรคมะเร็ง ไม่มีทางรักษาหายได้ ชีวิตที่เหลืออยู่จึงสิ้นหวัง ที่จริงแล้วในโลกปัจจุบัน มีโรคมะเร็งหลายชนิดที่สามารถถูกวินิจฉัยได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองเช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยการทำ PAP SMEAR และได้รับการรักษาระยะแรกๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมด ผลของการรักษาให้หายขาดยังอยู่ในอัตราน้อยมาก ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยชาวไทยที่เป็นโรคมะเร็งมักจะพบแพทย์และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็ต่อเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้วเสมอการเชื่อถือโชคลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณีแต่โบราณอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์และปัญหาที่สำคัญอีกประการก็คือ ปัญหาในด้านฐานะของครอบครัวผู้ป่วยเองสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ช้า และโรคอยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีและมักจะเสียชีวิตเสมอ การที่จะค้นหามะเร็งได้ในขณะที่ยังไม่มีอาการหรือวินิจฉัยมะเร็งได้ในระยะที่เริ่มเป็นมีความสำคัญมากและจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนผู้ป่วยเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากความสามารถของแพทย์ และการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านเครื่องมือทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายในการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างการมีสุขภาพดี โดยมีตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ เพื่อ การลดโรคติดต่อและไม่ติดต่อ คือ สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และสตรีที่มีอายุ 30 - 60 ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง ตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นปัญหาของชุมชนในภายภาคหน้า หากไม่มีกิจกรรมรณรงค์ป้องกัน และเพื่อบรรลุตามตัวชี้วัดของกระทรวงฯ จึงได้จัดทำ “โครงการเสริมสร้างแรงจูงใจในการตรวจมะเร็งปากมดลูก” ขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้สตรีที่มีอายุ 30 - 60 มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะเป็นวัยที่มีโอกาสเป็นมะเร็งดังกล่าวได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของสตรีในประเทศไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก

 

2 2. เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

 

3 3. เพื่อให้อัตราการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน อุแตบือราแงเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2559

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การเตรียมการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อชี้แจงโครงการ และวางแผนมอบหมายงานในการดำเนินโครงการ การดำเนิน 1. อบรมสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคมะเร็งปากมดลูก 2. ประชาสัมพันธ์การตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยการเชิญกลุ่มเป้าหมายทางจดหมายแทน ความห่วงใย 3. นัดวันตรวจมะเร็งปากมดลูก 4. ในแต่ละครั้งที่นัดกลุ่มเป้าหมายมาตรวจมีการจับฉลากเพื่อชิงของรางวัลสร้างแรงจูงใจ หลังดำเนินการ 1.สรุปและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  3. อัตราการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน อุแตบือราแง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 09:31 น.