กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2562

ประชุมพี่เลี้ยงกองทุนฯระดับจังหวัด ครั้งที่ 127 มีนาคม 2562
27
มีนาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานของทีมพี่เลี้ยง (Coaching Team) ประจำจังหวัด ปี 2562 รายละเอียดดังนี้ โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด ผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2562 หลักการและเหตุผล         กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่หรือกองทุนสุขภาพตำบล ในจังหวัดปัตตานี มีจำนวน 113 แห่ง เป็นนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพที่เป็นกลไกสำคัญที่เน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนอื่นของชุมชนเพื่อการจัดบริการสาธารณสุขแก่กลุ่มเป้าหมาย การดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุข ส่งเสริมและป้องกันโรค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาร่วมทำงานด้านสุขภาพครอบคลุม ร้อยละ 100 ของพื้นที่
        สถานการณ์ด้านการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ พบว่า ปี 2561 ที่ผ่านมาจังหวัดปัตตานี มีการใช้จ่ายงบประมาณดำเนินโครงการ กว่าร้อยละ 90 ของเงินรายรับปี 61 มีการสะสมของเงินคงเหลือสะสมประมาณ 63 ล้านบาท เมื่อรวมกับการสะสมที่ยกมาเมื่อต้นปี 2560 มีการสะสมจำนวน 100 กว่าล้านบาท ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่มาก ส่วนสถานการณ์ของการดำเนินงาน LTC พบว่า มีจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมัครเข้าร่วมของจังหวัดปัตตานียังน้อยมาก มีหลาย อปท.ที่ยังไม่สามารถโอนเงิน LTC เพื่อการจัดบริการได้
      เนื่องจากหลายสาเหตุประการ เช่น ความเข้าใจร่วมกันของหน่วยงานที่ดำเนินงานกองทุน LTC การไม่วางแผนหรือตกลงเรื่อง หน่วยงานที่รับเงินเพื่อจัดบริการ LTC เป็นต้น โดยใน ปี 2562 นั้น ทาง สปสช.มีการประกาศใช้หลักเกณฑ์แนวทางการสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ พ.ศ.2561 โดยมีการรวมประกาศเกี่ยวกับ LTC มาเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนสุขภาพตำบล
เขต 12 สงขลา ดำเนินการ 3 ประเด็น คือ 1) จัดตั้งกลไกคณะทำงานสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ( coaching team) รายจังหวัด จำนวนจังหวัดละประมาณ 20 กว่าคน ทำหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการบริหารกองทุน 2) การพัฒนากลไกติดตาม 3 กองทุนผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น ดังนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา จึงจัดโครงการสนับสนุนการติดตามการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล LTC ระดับจังหวัดผ่านกลไกของคณะทำงานสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่และผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขต 12 สงขลา ระยะเวลาส่งมอบของและการชำระเงิน แบ่งเป็น 3 งวด เริ่มตั้งแต่วันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2562  ถึง วันที่ 30 กันยายน 2562 ดังนี้ งวดที่ 1 ร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงิน 42,036.- บาท (-สี่หมื่นสองพันสามสิบหกบาทถ้วน-) ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 งวดที่ 2 ร้อยละ 70 เป็นจำนวนเงิน 196,168.- บาท (-หนึ่งแสนเก้าหมื่นหกพันหนึ่งร้อยหกสิบแปดบาทถ้วน-) ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2562 งวดสุดท้าย ร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงิน 42,036.- บาท (-สี่หมื่นสองพันสามสิบหกบาทถ้วน-) ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2562     ทบทวนบทบาทพี่เลี้ยงระดับจังหวัด
ทำงานร่วมกับคณะกรรมการกองทุน 1.จัดทำแผนงานกองทุน 3-5 ปี
2.พัฒนา ปรับปรุง คุณภาพโครงการกองทุนฯให้การสนับสนุน 3.ติดตาม ประเมินผลโดยใช้โปรแกรมผ่านเว็บไซต์ ทักษะของพี่เลี้ยง     1. ความเข้าใจระเบียบบริหารกองทุน ฯ ปี 2557, 2561     2. การวินิจฉัยข้อหารือเกี่ยวกับกองทุนฯ     3. แนวคิดด้านสุขภาวะ การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค     4. การจัดทำแผนงานกองทุน
    5. การทำโครงการในประเด็นสำคัญ(ปัจจัยกำหนดสุขภาพ :SDH)     6. การประสานงาน-ให้คำปรึกษาของพี่เลี้ยง         1.ร่วมกันออกแบบกระบวนการเสริมการทำงานกองทุน
- การประชุมวางแผนร่วมกันของทีมพี่เลี้ยง (Coaching Team) ประจำจังหวัด เรื่อง แนวทางและรูปแบบการลงสนับสนุนการทำงานกองทุนฯ เช่น การลงพื้นที่รายกองทุนฯ หรือ การจัดกระบวนการกลุ่มของผู้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่กับทีมพี่เลี้ยง การแบ่งหน้าที่และพื้นที่ความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงแต่ละราย รูปแบบการให้คำปรึกษาแก่กองทุน เป็นต้น - การลงปฏิบัติงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ เพื่อเสริมการทำงานของกองทุนเกี่ยวกับ การจัดทำแผนงานด้านสุขภาพ การจัดทำและปรับโครงการด้านสุขภาพของกองทุน ตามแนวทางที่กำหนดขึ้น
      2.พี่เลี้ยงแต่ละรายจะต้องมีกองทุนสุขภาพตำบลที่รับผิดชอบในการเป็นที่ปรึกษา       3.พี่เลี้ยงที่รับผิดชอบแต่ละกองทุนฯจะต้องสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่จัดทำโครงการด้านสุขภาพที่มีความสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่ แล้วลงข้อมูลรายงานผลกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการในระบบโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล www.localfund.happynetwork.org และเบิกเงินให้แล้วเสร็จ ตลอดจนการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรม
        4.พี่เลี้ยงต้องสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่สามารถใช้เงินกองทุนฯ ดำเนินโครงการจนเงินคงเหลือไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินทั้งหมดกองทุนฯ         5.พี่เลี้ยงแต่ละคนจะต้องส่งผลการสนับสนุนกองทุนฯ พร้อมรูปภาพ ในรูปเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สรุปผลการลงหนุนเสริมการทำงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่แก่ผู้จ้าง ภายหลังที่ได้ลงเยี่ยมติดตามกองทุนฯแล้ว เรื่องอื่นๆ ระเบียบกองทุนฉบับปี 61 ประกาศใช้ 1 ต.ค.61 ดอกเบี้ยจะเกิด 2 ครั้ง มี.ค.และก.ย. ต้องมีแผนรับเงินและแผนจ่ายเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีพี่เลี้ยง (Coaching Team) ประจำจังหวัด เข้าร่วมประชุม     1.ได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการเสริมการทำงานกองทุน
    2.จับคู่พี่เลี้ยงแต่ละรายมีกองทุนสุขภาพตำบลที่รับผิดชอบในการเป็นที่ปรึกษา     3.พี่เลี้ยงจะต้องลงเยี่ยมสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่จัดทำโครงการด้านสุขภาพที่มีความสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่ แล้วลงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการในระบบโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล www.localfund.happynetwork.org และเบิกเงินให้แล้วเสร็จ ตลอดจนการบันทึกผลการดำเนินกิจกรรม
    4.พี่เลี้ยงต้องสนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่สามารถใช้เงินกองทุนฯ ดำเนินโครงการจนเงินคงเหลือไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินทั้งหมดกองทุนฯ     5.พี่เลี้ยงแต่ละคนจะต้องส่งผลการสนับสนุนกองทุนฯ พร้อมรูปภาพ ในรูปเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สรุปผลการลงหนุนเสริมการทำงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่แก่ผู้จ้าง ภายหลังที่ได้ลงเยี่ยมติดตามกองทุนฯแล้ว