โครงการทันตสาธารณสุขแบบบูรณการ
ชื่อโครงการ | โครงการทันตสาธารณสุขแบบบูรณการ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง |
วันที่อนุมัติ | 9 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2560 - 30 มิถุนายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 11,975.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวฮาซานีสาและ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละดือรามัน อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.603,101.554place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การศึกษา การเกิดโรคฟันผุและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3 – 12 ปี เมื่อปี 2547 พบผู้เป็นโรคฟันผุในฟันแท้กลุ่มอายุ 6 – 8 ปี และ 9 – 12 ร้อยละ 22.5 และ 70.8 ตามลำดับ (จากนิตยสารทันตสาธารณสุข ปีที่ 9 ฉบับที่ 1-2 มกราคม – ธันวาคม 2547 หน้า 47) ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง และค่ารักษาทางทันตกรรมค่อนข้างสูงด้วย เป้าหมายทันตสุขภาพระยะยาวของประเทศไทยปี 2563 ระบุว่า “คนไทยมีสุขภาพช่องปากดี บด เคี้ยวได้ อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข ทุกช่วงวัยของชีวิต” การที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มตั้งแต่ระยะฟันน้ำนมเริ่มขึ้น ฟันได้รับการดูแลอย่างดี เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะมีฟันใช้งานได้ครบทั้งปาก ไม่มีโรคในช่องปาก ไม่มีความเจ็บปวดในช่องปาก คงสภาวะเช่นนี้ได้ตลอดชีวิต การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนด และเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย แม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายและจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทย พบว่า ช่วงอายุ 0-3 ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุใน ฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดในการป้องกันฟันผุ เพราะวัยนี้ ถ้าช่องปากไม่สะอาด จะเอื้อต่อการตั้งรกรากของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็ว และมักจบลงด้วยการมีฟันผุทั้งปาก แต่ถ้าช่วงวัยนี้ช่องปากสะอาด มีแนวโน้มว่าเด็กจะฟันผุน้อย หรือปราศจากฟันผุ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับการป้องกันโรคฟันผุโดยเน้นการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพื่อทาฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง เช่น ฟลูออไรด์วาร์นิช การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องดำเนินการร่วมกันระหว่างทันตบุคลากร และบุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิกสุขภาพเด็กดี ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอและเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพื่อส่งต่อไปรับบริการป้องกัน รวมทั้งการให้คำแนะนำพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองเข้าใจ และตระหนักเรื่องทันตสุขภาพ ตลอดจนการให้ความสำคัญในการดูแลฟันซี่แรกของลูก เพราะการเริ่มต้นดูแลตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำสู่การมีสุขภาวะช่องปากที่ดีในวัยผู้ใหญ่ ต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุแตบือราแง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากใน 3 กลุ่มวัย เพื่อส่งเสริมให้ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน
|
||
2 | 2. เพื่อส่งเสริมการดูแลช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
|
||
3 | 3. เพื่อส่งเสริมการดูแลช่องปากในผู้สูงอายุ
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
การเตรียมการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อชี้แจงโครงการ และวางแผนมอบหมายงานในการดำเนินโครงการ การดำเนิน 1. อบรมกลุ่มนักเรียนในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง 2. อบรมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง 3. อบรมกลุ่มผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องตลอดจนวิธีการดูแลเหงือกที่ถูกวิธี หลังดำเนินการ 1. สรุปและประเมินโครงการ
- กลุ่มนักเรียนในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง
- กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง
- กลุ่มผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องตลอดจนวิธีการดูแลเหงือกที่ถูกวิธี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 09:59 น.