กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันพิษภัยจากบุหรี่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 – 25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 มีนาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มีนาคม 2562
งบประมาณ 98,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาติ ดิงปาเนาะ กรรมการชมรมมุสลิมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ นายอามีน ดือรายีสอฮอ ประธานชมรมมุสลิมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่ยังคงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญลำดับต้นของปัญหาสุขภาพของโลกในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูลปัตตานียะลา และนราธิวาส) จะมีจำนวนคนสูบบุหรี่มากกว่าหลายๆ จังหวัดในประเทศไทย จังหวัดยะลามี 8 อำเภอ 58ตำบล380หมู่บ้านมีประชากรจำนวน 448,326 คนเป็นเพศชาย 219,165 คน เพศหญิง 229,161 คนนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 79.60 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 20.13 และศาสนาอื่นๆร้อยละ 0.27(Health Data Centerณ 31 ธันวาคม 2559) สถานการณ์การสูบบุหรี่ ในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ของจังหวัดยะลายังคงสูงกว่าหลายจังหวัดของประเทศไทยและบางจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12โดยมีอัตราการสูบบุหรี่ในปี พ.ศ. 2550, 2554, 2557 และ 2558ร้อยละ 23.32, 24.01, 29.13 และ 21.38 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี 2558(ลำดับที่ 34 ของประเทศ)อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่ของจังหวัดยะลาจะต่ำกว่าในภาพรวมของเขตสุขภาพที่ 12 แต่ก็ยังสูงกว่าระดับประเทศและสถานที่สาธารณะที่พบเห็นการสูบบุหรี่มากที่สุด คือ ตลาดสดหรือตลาดนัด ร้อยละ 89.0รองลงมา คือ ร้านอาหาร/ภัตตาคารสถานีขนส่งสาธารณะศาสนสถาน อาคารสถานที่ราชการสถานบริการสาธารณสุข สถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา และอาคารมหาวิทยาลัยร้อยละ 81.2, 65.6, 49.9, 34.9, 21.8, 23.3 และ17.1 ตามลำดับ(สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2559)

ผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีที่ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ จากการสุ่มพบว่า มีกลุ่มนักศึกษาที่สูบบุหรี่ 320 คน หรือร้อยละ 32 เป็นเพศชาย 265 คน เพศหญิง 55 คน ส่วนมากเริ่มสูบบุหรี่ที่อายุ 18 ปีสาเหตุที่เริ่มสูบมากที่สุด คือ อยากทดลอง ร้อยละ 53.8 ทำตามเพื่อนร้อยละ 23.4 เพื่อเข้าสังคมร้อยละ 9.4 คลายเครียด ร้อยละ 4.1 ความเท่ โก้เก๋ร้อยละ 3.8 ทำตามคนในบ้าน ร้อยละ 2.8 ซึ่งในรอบปี ที่ผ่านมามีกลุ่มตัวอย่างอยากเลิกบุหรี่ถึง ร้อยละ 59.1 โดยสาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างชาย อยากเลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่ราคาแพง ร้อยละ 8.5 ส่วนกลุ่มตัวอย่างหญิงอยากเลิก เพราะคนใกล้ชิดแนะนำ ร้อยละ 1.8 ดังนั้น ในมหาวิทยาลัยควรมีหน่วยงานช่วยเหลือ ให้คำแนะนำนักศึกษาที่อยากเลิกสูบบุหรี่ ให้คำแนะนำแนวทางการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันได้มีหลายสถาบันการศึกษาได้ดำเนินงานจัดกิจกรรมที่จะช่วยสนับสนุน ให้การรณรงค์มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ให้เกิดผลสำเร็จ และสามารถถอดบทเรียน เป็นต้นแบบให้สถาบันอื่นๆ ได้ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เห็นความจำเป็นในการ ที่จะต้องสนับสนุนส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศทั้งรัฐ และเอกชน ได้มีการดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ครบถ้วนตามเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้นยังต้องป้องกันนักศึกษาจากการริเริ่มสูบบุหรี่ จัดให้ มีบริการช่วยเลิกบุหรี่สำหรับนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย และพัฒนา หลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาตระหนักในความสำคัญของ การควบคุมยาสูบ และพร้อมที่จะเป็นผู้นำหรือมีส่วนร่วมในการควบคุมยาสูบในสังคม ต่อไป (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2535) และตระหนักถึงปัญหาจากการสูบบุหรี่ที่ส่งผลสุขภาพระยะยาวซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมอง และโรคมะเร็งปอดซึ่งมีอัตราป่วยตายสูงขึ้นทุกๆ ปี
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลาได้เล็งเห็นผลต่อสุขภาพที่จะตามมา จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในนักศึกษา ประชาชนและป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ที่จะเกิดขึ้น สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวและคนรอบข้างได้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ “เป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งยาเสพติด”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
  2. อัตราการสูบบุหรี่ของนักศึกษาที่เป็นนักสูบในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการลดลงร้อยละ 30
30.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเพิ่มนักสูบหน้าใหม่ในมหาวิทยาลัย
  1. นักศึกษากลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมอบรมไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ร้อยละ 80
80.00
3 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเรื่องพิษภัยของบุหรี่
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเรื่องพิษภัยของบุหรี่ ร้อยละ 80 (ตอบแบบสอบถาม)
80.00
4 4. ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมผ่านงบสนับสนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ80 (ตอบแบบสอบถาม)
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 98,550.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ จำนวน 50 คน ระยะเวลาครึ่งวัน 0 2,250.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การสัมมนาทางวิชาการในรูปแบบเวทีเสวนา ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (ที่เป็นนักสูบหน้าเก่า/กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นนักสูบหน้าใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ) จำนวน 150 คน และทีมงาน ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 50 คน รวมเป็น 200 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 53,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 จัดนิทรรศการและเดินรณรงค์สร้างกระแสงดสูบบุหรี่ โดยนักศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 200 คน 0 38,300.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการอบรม (แบบสำรวจ+ตอบแบบสอบถาม) ในวันที่ทำโครงการและภายหลัง 3 เดือน 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการสูบบุหรี่ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยลดลง
  2. นักศึกษากลุ่มเสี่ยงในมหาวิทยาลัยมีความตระหนักและมีทักษะการป้องกันตัวให้ห่างไกลบุหรี่
  3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีความรู้และเข้าใจเรื่องพิษภัยของบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2561 11:00 น.