กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถนนสายสุขภาพผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครวบครัวพอเพียง
รหัสโครงการ 60-L5275-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่จ.สงขลา
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนินราหม๊ะ หมัดอาดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ (พ.ศ.2555-2559)ยังคงอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางพัฒนาอย่างจริงจังเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุลเป็นธรรมและยั่งยืนทุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอันจะเป็นการเสริมสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนโดยถ้วนหน้าสมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯภาวะการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยทำให้การดำรงชีวิตของคนในสังคมไทยได้นำเอาสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกๆด้านเข้ามาในชีวิตประจำวันแม้กระทั่งสิ่งอุปโภคบริโภคต่างๆล้วนอำนวยความสะดวกต่อคนไทยในสังคมทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้การใช้ชีวิตของคนไทยที่ผ่านมานั้นถึงแม้จะได้รับความสะดวกสบายในเบื้องต้นแต่สิ่งที่ตามมาโดยไม่รู้ตัวคือการดำรงชีวิตประจำวันที่ฟุ่มเฟือยทำให้คนในสังคมต้องประสบกับปัญหาการดำรงชีวิตตามมาฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถแก้ปัญหาการดำรงชีวิตของคนไทย คือการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ

เนื่องด้วยในปัจจุบันเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้นซึ่งเห็นได้จากสถิติของผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและอัตราการป่วยจากโรคที่ไม่ติดต่อเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการรักษาพยาบาลเป็นอันมากและเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ ที่สำคัญมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือผัก-ผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีเพื่อเหตุผลทางการค้า ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงแนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ต้นเหตุแบบยั่งยืนคือการให้สุขศึกษาความรู้แก่ประชาชนและการส่งเสริมการปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสาอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการถนนสุขภาพ ผักข้างบ้าน อาหารข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี ลดโรค เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บุคคลากร รพ.สต.ทุ่งตำเสาอสม.และประชาชน สร้างสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะนิสัยและตระหนักถึงความสำคัญต้นเหตุของปัญหารวมทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่9 นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันการปลูกผักรับประทานเองแบบอินทรีย์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการเกิดโรค อันตราย จากการบริโภคพืชผักที่ปนเปื้อนจากสารเคมี

มีผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90ของกลุ่มเป้าหมาย

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดแนวคิดในการพึ่งพาตนเอง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ข้างบ้าน ข้างรั้ว หลีกเลี่ยงสารเคมี และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้น

มีแกนนำปลูกพืชผักปลอดสารพิษบริเวณบ้าน 50 ครัวเรือนและสามารถเป็นวิทยากรได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการ และเสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาเพื่อขออนุมัติ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนวิทยากรและสถานที่อบรม 4.ดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ บรรยายและเชิงปฏิบัติการ 5.จัดตั้งกลุ่ม แกนนำปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ผักข้างบ้าน อาหารข้างครัว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี 6.ติดตามการปลูกพืชผักในครัวเรือน 7.สรุปผลและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน
2.เกิดนวัตกรรม ถนนสายสุขภาพผักข้างบ้าน อาหารข้างครัว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี 3.ลดอัตราการเกิดโรคติดต่อได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 10:47 น.