กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยเครือข่ายสุขภาพบ้านลุ่ม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาบีบะห์ สะมาแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์ประชากรที่กำลังได้รับความสนใจในสังคมโลกปัจจุบัน คือ โครงสร้างของประชากรที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) จากข้อมูลประชากรโลกได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมาประชาการผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากอัตราการตายและอัตราการเจริญพันธุ์ลดลง (United Nation 2006) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2552) ได้เสนอความคิดว่าจากที่สำนักงาน สถิติแห่งชาติได้รายงานผลการศึกษาสถานการณ์ประชากรโลกและประชากรไทย พบว่า จำนวนประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ. 2550 มีประชากรทั่วโลก 6,605 ล้านคน แต่ในปี พ.ศ. 2580 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,725.7 ล้านคน ทวีปเอเชียจะมีประชากรมากที่สุดโดยประเทศจีนและอินเดียจะมีประชากรมากเป็นอับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 14.7 (9.5 ล้านคน) และคาดว่าในปี พ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเกินร้อยละ 20 (14.4) นั่นหมายถึง ประเทศไทยได้เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมสภาพ โดยพบว่าโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียสุขภาวะ 5 อันดับแรกในผู้สูงอายุชาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และโรคมะเร็งตับ สำหรับผู้สูงอายุหญิง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อม และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุดูแลตนเองไม่ได้เลย 63,000 คนหรือร้อยละ 0.9 โดยพิจารณาจากความสามารถในการดูแลตนเองทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุมีภาวะที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2557: 1)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นหน่วยงานบริการสุขภาพปฐมภูมิมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 7 มีประชากรทั้งหมด 5,318 คน (ฐานข้อมูลประชากรกลางปี มิถุนายน 2559) มีผู้สูงอายุ จำนวน 531 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 9.98 มีผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 19.0 ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 6.02 ป่วยด้วยโรคหัวใจ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 1.31 และจากรายงานข้อมูลแสดงภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุ ปี 2559 พบว่ามีผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 517 คน คิดเป็นร้อยละ 97.36 ผู้สูงอายุติดบ้าน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 2.25 และผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.37 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี, 2559) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุในตำบลปะเสยะวอ เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งโรคดังกล่าวนั้นล้วนมาจากกการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เป็นการส่งเสริมให้เกิดความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและประสบการณ์ สามารถถ่ายทอดความรู้และคุณประโยชน์ให้แก่ครอบครัว ชุมชน สังคม และทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติได้เป็นอย่างดี เป็นคลังสมอง คือภูมิปัญญาของแผ่นดิน หมู่ที่ 7 บ้านลุ่ม ประชากรทั้งหมด 1,042 คน ในจำนวนนี้อยู่ในวัยผู้สูงอายุจำนวน 141 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคมจำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 98.58 ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70 ผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70 และผู้พิการ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 3.16 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี, 2559) วัยผู้สูงอายุมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมตามสภาพร่างกาย โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคระบบกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพและการเจ็บป่วย จากสภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ และสุขภาพช่องปาก ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดี และที่สำคัญ คือการมุ่งลดความเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ และเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาวโดยไม่ถูกทอดทิ้งมีภาคีเครือข่ายดูแลตลอดเวลา ด้วยเหตุผลดังกล่าวชมรมอสม.บ้านลุ่ม จึงทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
  1. คืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและเกิดภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
2 2. เพื่อแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุโดยการเยี่ยมบ้านตามแผน
  1. ผู้สูงอายุได้รับการแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุจากการเยี่ยมบ้านตามแผน
3 3. เพื่อให้ อสม. จิตอาสามีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการส่งต่อและติดตามผู้สูงอายุพร้อมกับเจ้าหน้าที่
  1. อสม. จิตอาสามีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการส่งต่อและติดตามผู้สูงอายุพร้อมกับเจ้าหน้าที่.
4 4. มีชมรมผู้สูงอายุคุณภาพในหมู่บ้าน
  1. มีชมรมผู้สูงอายุคุณภาพในหมู่บ้านเกิดขึ้น
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. มีการจัดทำประชาคม คืนข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในด้านสุขภาพ

  2. จัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุระดับตำบลมีการดำเนินการดูแลสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ

  3. มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. จิตอาสาดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกพื้นที่ให้มีความรู้เพียงพอต่อผู้สูงอายุและครอบครัวอบรมเชิงปฏิบัติการ

  4. ดำเนินการชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ โดยใช้หลัก 5 ก คือ แกนนำ กรรมการ กฎกติกา กองทุน และกิจกรรม ดังนี้ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต มีกิจกกรมออกกำลังกายโดยไม้พลอง เดินเร็ว เดินหินนวดเท้า กะลาเพื่อสุขภาพ สมุนไพรพื้นบ้าน และกิจกรรมในสังคม

  5. กิจกรรมติดตามการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยทีมสุขภาพและเครือข่ายมีการประเมินปัญหาของผู้สูงอายุให้ความรู้เฉพาะด้านในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยที่บ้านแก่ญาติ ผู้ดูแล มีระบบส่งต่อและติดตาม

  6. มีการตรวจสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและมีการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

  7. ติดตามและประเมินผลทุกเดือนร่วมกับ อสม.ในการประชุมประจำเดือนของ อสม.ทุกสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คืนข้อมูลสุขภาพให้กับผู้สูงอายุและเกิดภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม

  2. ผู้สูงอายุได้รับการแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุจากการเยี่ยมบ้านตามแผน

  3. อสม. จิตอาสามีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีการส่งต่อและติดตามผู้สูงอายุพร้อมกับเจ้าหน้าที่.

  4. มีชมรมผู้สูงอายุคุณภาพในหมู่บ้านเกิดขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 11:44 น.