โครงการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลา ครั้งที่ 2
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลา ครั้งที่ 2 |
รหัสโครงการ | 62 – L7452 – 5 – 2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา |
วันที่อนุมัติ | 26 ตุลาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 ตุลาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2561 |
งบประมาณ | 24,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางทรงศรี มะโรหบุตร พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสุภาภรณ์ บุญพงศ์มณี หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.523,101.181place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัดจังหวัดยะลา (1 ก.ย. – 20 ต.ค. 61)จำนวนผู้ป่วย 641 รายพบผู้ป่วยสูงสุดคือ อ.ยะหา 147 ราย รองลงมา อ.บันนังสตา 114 รายอ.กาบัง 95 รายอ.ธารโต 75 รายอ.เมืองยะลา 74 รายอ.กรงปินัง 69 รายอ.รามัน 52 รายและ อ.เบตง 15 รายตามลำดับ(1 ก.ย. – 22 ต.ค. 61)เสียชีวิต 9 ราย
อ.กรงปินัง 4 รายอ.บันนังสตา 2 รายอ.ธารโต 2 รายอ.กาบัง 1 ราย
และรายงานสถานการณ์ของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลา จากกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลศูนย์ยะลาพบผู้ป่วยสงสัยโรคหัด เพิ่มขึ้นจาก 7 ราย(1 ก.ย. – 11 ต.ค. 61) เป็น 15 ราย(1 ก.ย. – 22 ต.ค. 61) เป็นเด็กอายุ 0 – 4 ปีจำนวน 10 รายอายุ 5 – 9 ปีจำนวน 1 รายอายุ 15 – 19 ปีจำนวน 1 รายอายุ 20 – 24 ปีจำนวน 1 รายอายุ 35 – 39 ปีจำนวน 1 ราย อายุ 45 – 49 ปีจำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดไม่ครบตามเกณฑ์และไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนหรือไม่และจากรายงานผลการรณรงค์เร่งรัดติดตามให้วัคซีนรวมป้องกันโรคหัดคางทูมและหัดเยอรมัน(MMR)เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือน – 5 ปี ในเขตเทศบาลนครยะลาของกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลยะลาณ วันที่ 23 ตุลาคม2561 พบว่า MMR 1 เป้าหมายจำนวน 136 รายผลงาน 36 รายคิดเป็น ร้อยละ 25.89และMMR 2 เป้าหมายจำนวน 242 รายผลงาน 37 รายคิดเป็น ร้อยละ 15.28 ในการนี้เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลาจึงขอจัด“โครงการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลาครั้งที่ 2” โดยเพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรีกลุ่มอาชีพครูอนามัยโรงเรียนครูประจำชั้นอนุบาลและครูที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคหัด และช่วยตรวจสอบและติดตามการได้รับวัคซีนในกลุ่มเด็กเล็ก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเรื่องโรคหัด และวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง
|
100.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ความรู้เรื่อง โรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง แก่ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง
|
80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
??/??/???? | กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทางวิชาการ แนวทางการป้องกันโรคหัดระบาด แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน (อสม.) กลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 300 คน ระยะเวลาครึ่งวัน | 0 | 14,300.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่อง โรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง แก่ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง | 0 | 10,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 24,300.00 | 0 | 0.00 |
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรีกลุ่มอาชีพครูอนามัยโรงเรียนครูประจำชั้นอนุบาล ครูที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเรื่องโรคหัด และวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง
- ไม่เกิดการระบาดของโรคหัดเพิ่มขึ้น และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคหัด ในเขตเทศบาลนครยะลา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2561 08:33 น.