กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย ฟันสวยยิ้มใส ด้วยมือผู้ปกครอง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,690.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายทัตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ปี พ.ศ.2559 พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิมีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 55.8 และจากการสำรวจสุขภาพช่องปากของเด็กท่ามะปรางที่มีอัตราการเกิดฟันผุ ร้อยละ 73.3 ซึ่งถือว่ามีอัตราการเกิดฟันผุที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นในอำเภอรัตภูมิ โดยปัจจัยหลักในการเกิดฟันผุ เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม การไม่ทำความสะอาดช่องปากเด็ก พฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเด็กมักจะรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เหนียวติดฟัน และยังพบว่าผู้ปกครองหรือผู้ที่เลี้ยงดูเด็กขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลและทำความสะอาดสุขภาพช่องปากส่งผลให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุในเด็กเล็ก การเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก มีลักษณะฟันผุหลายซี่ในช่องปาก ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนักและการเจริญเติบโตของเด็ก การขาดความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง และอาจส่งผลให้ฟันน้ำนมซี่อื่นๆในช่องปากรวมถึงฟันแท้ที่จะขึ้นมีโอกาสผุมากขึ้น แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ควรเน้นไปที่การป้องกันการเกิดฟันผุตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น เพราะหากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ช่วยให้สามารถรักษาฟันน้ำนมให้มีสุขภาพดีและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเด็กเล็กยังไม่สามารถทำความสะอาดหรือดูแลช่องปากของตนเองได้ ผู้ปกครองจึงเป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการสร้างพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องให้แก่เด็ก ดังนั้นฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้เห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการให้บริการทันตกรรม การตรวจสุขภาพช่องปาก และการฝึกทักษะการทำความสะอาดสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธีแก่ผู้ปกครอง รวมถึงออกเยี่ยมบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพและลดอัตราการเกิดฟันผุในกลุ่มเด็กเล็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพแก่เด็กอายุ 9 เดือน - 18 เดือน โดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุในเด็กที่ฟันน้ำนมขึ้น

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลและทำความสะอาดช่องปากเด็กอย่างถูกวิธี

 

3 เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านเด็กอายุ 9 เดือน - 18 เดือน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    • สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 9 เดือน -18 เดือน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ท่ามะปราง
    • จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กเล็กในชุมชน
    • ขออนุมัติโครงการต่อองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
  2. ขั้นดำเนินงาน
    • จัดทำสมุดบันทึกตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก
    • ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กกลุ่มเป้าหมาย ให้บริการเคลือบฟลูออไรด์วานิช 2 ครั้ง/ปี ในเด็กที่มีฟันน้ำนมขึ้น
    • จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองและการฝึกปฏิบัติการทำความสะอาดช่องปากเด็กเล็ก
    • ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง/ปี
    • สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กเล็กในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลและทักษะการทำความสะอาดสุขภาพช่องปากเด็กที่ถูกต้อง
  2. มีการส่งเสริมการทำงานเป็นเครือข่ายทันตสุขภาพ ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชน
  3. มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในชุมชน โดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ
  4. เด็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2560 12:03 น.