กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ “รักให้เป็น” หยุดท้องก่อนวัยอันควร ในสถานศึกษา
รหัสโครงการ ประเภทที่ 2/009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กรกฎาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้ เทสบาลตำบลวังขนาย
พื้นที่ดำเนินการ วิทยาลัยการอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 13.96,99.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.ค. 2561 28 ก.ย. 2561 17,250.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 17,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ แต่วัยรุ่นจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงข้อมูลและบริการด้านเพศทำให้วัยรุ่นขาดความรู้และทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี ไม่สามารถควบคุมอารมณ์หรือตนเองเมื่ออยู่กับเพศตรงข้าม ถูกกระตุ้นอารมณ์เพศจากสื่อทางลบ และใช้สารเสพติด รวมทั้งการเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นที่สถานการณ์และแนวโน้มขณะนี้น่าเป็นห่วง กล่าวคือ อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของวัยรุ่นลดลงจาก ๑๘-๑๙ ปี เป็นประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี และข้อมูลจากการขึ้นทะเบียนเด็กแรกเกิด ประจำปี 2560 (รพสต.บ้านศาลเจ้าโพลงไม้ : 2560) ผลกระทบประการสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น นอกจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ คือ การตั้งครรภ์ ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข โดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๗) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ดังนั้น วิทยาลัยการอาชีพจังหวัดกาญจนบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้เข้มแข็ง และมีคุณภาพ มีทักษะชีวิต ตามเจตคติที่เหมาะสมเรื่องการสร้างครอบครัว จึงจัดทำโครงการ
“รักให้เป็น” หยุดท้องก่อนวัยอันควร ในสถานศึกษา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

30.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

16 ก.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้/สร้างแกนนำแก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษา 0.00 -
16 ก.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 จัดนิทรรศการให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมให้กับเด็ก เยาวชน และกิจกรรมอื่นๆ เช่น เล่นเกม/ตอบคำถามชิงรางวัล ฯลฯ 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

(๑) จัดทำโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลวังขนาย (๒) แต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการฯ (๓) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลเจ้าโพรงไม้
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ฯลฯ (๔) ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ตามโครงการ (๕) ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
(๕.1) อบรมให้ความรู้/สร้างแกนนำแก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
(๕.2) จัดนิทรรศการให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมให้กับเด็ก เยาวชน และกิจกรรมอื่นๆ เช่น เล่นเกม/ตอบคำถามชิงรางวัล ฯลฯ
(๖) สรุปและรายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (2) เด็ก เยาวชน นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และครอบครัวในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (3) เยาวชนที่ผ่านการอบรมมีทักษะขบวนการคิดในการปฏิเสธ (4) นักเรียนนักศึกษาไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2561 11:53 น.