กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรคความดัน/เบาหวาน รพ.สิเกา
รหัสโครงการ 62-L8429-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 27 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกนกกาญจน์ ขวัญทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.549,99.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากข้อมูลปี 2556 – 2558 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยอัตราความชุกโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 3.40 , 3.46 และ 8.33 ตามลำดับ อัตราความชุกโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 2.30 , 3.34 และ 3.61 ตามลำดับ
จากข้อมูลปี 2560 – 2561 ตำบลบ่อหิน (หมู่ที่ 1, 2, 3, 6, 8 และ หมู่ 9) มีผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปครอบคลุม ร้อยละ 98.89 , 90.65 กลุ่มเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 63.30 , 23.17  กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 5.76 , 2.56 และผลการคัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ครอบคลุมร้อยละ 98.69 , 88.97 พบกลุ่มเสี่ยงสูง คิดเป็นร้อยละ 3.70 , 2.98 กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 0.55 , 0.48         จากความสำคัญดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ80ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยง

80.00
2 เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ2ส

มีบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแก่กลุ่มเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ2ส

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

11 ก.พ. 62 - 16 ส.ค. 62 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเสี่ยง 18,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
  4. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และสถานที่
  5. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 1 ครั้ง/ 1 เดือน จนครบ 3 เดือน บันทึกผลการติดตามลงในแบบบันทึกการติดตาม ให้ความรู้การปฏิบัติตัว 3 อ 2 ส
    การสร้างแรงจูงใจของกลุ่มเสี่ยง และคัดเลือกบุคคลต้นแบบจากผลการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 ประกวดบุคคลต้นแบบ การลดเสี่ยง ลดโรค ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  6. รายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้
  2. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค
  3. ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2561 10:28 น.