กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
รหัสโครงการ 62-L8429-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ แสงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.549,99.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองประกอบด้วย โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันสะสม พอกตัวหนาขึ้น หลอดเลือดจะตีบและแข็งตัว จนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สำหรับโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงซึ่งเกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน หรือแตกจนเกิดการทำลาย หรือตายของเนื้อสมอง ในประชากรไทย ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ได้แก่ มีประวัติความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่ มีไขมันในเลือดสูง บริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะอ้วนหรือลงพุง จากข้อมูลของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิเกา ปี พ.ศ. 2559 – 2561 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 250 , 232 , 225 รายตามลำดับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 144 ,142 , 132 ราย ตามลำดับ อัตราเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง 19 ,16 และ 16 ราย คิดเป็น 50.5 , 42.3 ,42.1 ต่อแสนประชากรตามลำดับ อัตราเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 20, 13 ,17 ราย คิดเป็น 53.1, 34.3, 44.7 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งหากกลุ่มเสี่ยงและบุคคลใกล้ชิดสามารถเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถประเมินอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ และเข้าถึงระบบบริการเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลาก็จะสามารถลดอัตราตาย ลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการ ค่าใช้จ่ายในการรักษา และภาระทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ประจำปี 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ได้รับการประเมินความเสี่ยงและได้รับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

90.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ได้รับการประเมินความเสี่ยงและได้รับความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยง เข้าใจและรับรู้อาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือด (FAST) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 ก.ค. 62 ประชุมการรับรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและอาสาสมัครครัวเรือน 150 15,000.00 15,000.00
รวม 150 15,000.00 1 15,000.00
  1. เสนอโครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขอรับการอนุมัติ
  2. แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานโครงการฯ
  3. วางแผนประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และสถานที่
  6. จัดกิจกรรมโครงการ

- กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ประเมินคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (Thai CVD Risk) แก่กลุ่ม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 150 คน - กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยที่มีผลการประเมินความเสี่ยงในระดับเสี่ยงสูง และระดับเสี่ยงสูงอันตราย เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะราย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข - กิจกรรมที่ 3 การสร้างการรับรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง แก่ หัวหน้าครัวเรือน จำนวน 200 คน 7. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองของประชากรกลุ่มเสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2561 10:36 น.