กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนประถมศึกษา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสังคมปัจจุบัน พบว่า วิถีการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ต้องเร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวันทุกกลุ่มวัย โดยผู้ใหญ่วัยทำงานจะต้องเร่งรีบไปทำงานนอกบ้าน จึงส่งผลให้การเลี้ยงดูบุตรจะต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลาทุกวัน จึงส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการบริโภคอาหารต้องอาศัยการบริโภคอาหารแบบจานเดียว จานด่วน หรืออาหารฟาสฟู๊ดที่หาได้ง่ายรวดเร็วและสะดวกต่อการบริโภค ซึ่งอาหารดังกล่าวเต็มไปด้วยแป้ง หวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพและส่งผลต่อสุขภาพทั้งผู้ใหญ่และเด็ก จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บได้ โดยพบว่าเด็กอ้วนมีแนวโน้มเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆในอนาคตได้โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหอบ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้ภาวะโรคอ้วนยังมีผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียนอีกด้วย จากการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนเขตรับผิดชอบ ภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปี 2559 จำนวน 6 แห่ง/นักเรียน 1,560 คน พบว่านักเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 11.85 โดยพบนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มากที่โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 18.08 ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดงจึงเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนประถมศึกษาต้นแบบในโรงเรียนบ้านกำแพงเพชร โดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยใช้หลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ > ร้อยละ 50

ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ >ร้อยละ 50

2 เพื่อให้เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ > ร้อยละ 30

เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ > ร้อยละ 30

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตเด็กนักเรียนประถมศึกษาโดยชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
  2. ประมวลผลภาวะการเจริญเติบโตของเด็กนักเรียน โดยการจำแนก 3 กลุ่ม ดังนี้ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ น้ำหนักตามเกณฑ์ และน้ำหนักเกินเกณฑ์
  3. จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ในเด็กนักเรียนประถมศึกษา
  4. จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กและผู้ปกครองที่น้ำหนักเกินเกณฑ์
  5. จัดอบรมเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการเกินและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  6. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่ส่งเสริมให้ลูกมีรูปร่างสมส่วนที่ยั่งยืน
  7. สรุปประเมินภาวะโภชนาการเด็กและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ >ร้อยละ 50
  2. เด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีน้ำหนักตามเกณฑ์ > ร้อยละ 30
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2560 09:53 น.