กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง และลดโรค หมู่ที่ 5-7 ตำบลดุซงญอ
รหัสโครงการ 62-L2476-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต กาแยกาเต๊าะ
วันที่อนุมัติ 17 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 14,488.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุ พันธ์โภชน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 976 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
1,008.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1,008.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเห็นได้จากสภาวะการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูงเบาหวาน กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียด จากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 การคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2,231 ราย ได้รับการคัดกรอง 2,221 คิดเป็นร้อยละ 99.55 กลุ่มปกติ 1,220 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.68 กลุ่มเสี่ยง 1,011 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.31 กลุ่มป่วย 215 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.27 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นการสร้างเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสามารถจัดการลดความเสี่ยงของตนเองได้จะเป็นกลไกพื้นฐานที่สำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งการสร้างความรู้ ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่มีผลเพียงพอที่จะทำให้เกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพได้ การจัดกิจกรรมฝึกทักษะและการเสริมสร้างพลังแก่กลุ่มเป้าหมายจึงจำเป็นต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ ความเข้าใจนำไปสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนก็จะส่งผลให้ประชาชนตระหนักและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

1008.00 1008.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

1008.00 1008.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมคัดกรองและอบรมให้ความรู้ 826 9,086.00 9,086.00
3 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง 150 4,350.00 4,350.00
3 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรม อสม. ในการฟื้นฟูผู้ป่วย 32 352.00 352.00
3 ม.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ประชาสัมพันธ์โครงการ 1008 700.00 700.00
รวม 2,016 14,488.00 4 14,488.00
  1. แต่งตั้งคณะทำงานระดับชุมชน ซึ่งเป็นแกนนำในการดำเนินงานของชุมชน
  2. คณะทำงานประเมินสถานการณ์โรคและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
    • ค้นหาสาเหตุและเหตุปัจจัยของปัญหา
    • กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาของชุมชนและกลุ่มเป้าหมายโดยชุมชน
    • กำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนการดำเนินงานชุมชน
    • ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนในชุมชนต่อเนื่องทุกปี และจัดทำทะเบียนให้เป็นปัจจุบัน
    • การสร้างเวทีเพื่อส่งข้อมูลกลับให้ชุมชนได้รับทราบสถานการณ์ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของชุมชน สร้างแนวร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น การประชุมแกนนำครอบครัว การทำประชาคมหมู่บ้าน
  3. การจัดกิจกรรมแก่กลุ่มเป้าหมาย
    • จัดกิจกรรมการเสริมทักษะการสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ความรู้ และฝึกทักษะแก่กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคกลุ่ม Metabolic และ 4 อ. (อาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์ แอลกอฮอล์และบุหรี่) และการประเมินผล จำนวนไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง
    • การติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และระดับความเสี่ยงของ กลุ่มเป้าหมายต่อเนื่องทุก 3-9 เดือน และบันทึกผลทุกครั้ง
    • การอบรมให้ความรู้เรื่องและฝึกทักษะเรื่องการบริโภคอาหาร และอาหารสุขภาพแก่แกนนำครอบครัว
    • เดินรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม ในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.
    • จัดอบรมฟื้นฟูการคัดกรองความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานสำหรับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ
  4. กิจกรรมต่อเนื่องในชุมชน
    • กำหนดมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมโดยชุมชน เช่น การลดการใช้น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานต่าง ๆ รณรงค์ลดการจำหน่ายบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน การรณรงค์ลดการใช้เครื่องปรุงรสในการปรุงอาหารในครัวเรือนและงานเลี้ยงต่าง ๆ เป็นต้น
    • การค้นหาและรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ
    • นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน
    • ยกย่องบุคคลต้นแบบของชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่างและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
    • สร้างกลุ่มแกนนำ/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
    • มีการปลูกพืชผัก สมุนไพรไว้กิน/ใช้ในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนในชุมชน
    • รณรงค์งดจำหน่ายน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ และลดการใช้น้ำหวาน เครื่องปรุงรสในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และเบาหวานในหมู่บ้านได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมลดโอกาสการเกิดโรค
  2. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายใหม่
  3. ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถสร้างมาตรการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนเองได้
  4. หมู่บ้านเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค Metabolic ได้ ถูกต้อง เหมาะสม โดยใช้กระบวนการชุมชนเป็นฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2561 00:00 น.