กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ Care Giver เขตเทศบาลนครตรัง ปี2560
รหัสโครงการ 2560-L6896-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสรโตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยพบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรในปี ๒๕๕๗ มีผู้สูงอายุ ๔ ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ ๖.๘ ของประชากรทั้งหมด) ในปี ๒๕๕๗ เพิ่มเป็น ๑๐ ล้านคน(ร้อยละ ๑๔.๙) และคาดว่าในอีก๒๕ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒๐.๕ ล้านคน (ร้อยละ ๓๒.๑) และมีอัตราส่วนวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุลดลงจาก ๖:๑ ในปี ๒๕๕๓ จะเหลือวัยแรงงาน ๒ คน ต่อผู้สูงอายุ ๑ คน ในปี ๒๕๕๓ ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพ ได้ถึงร้อยละ ๙๕ ของผู้สูงอายุทั้งหมด ในขณะที่มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ ๕๗ ที่เข้าถึงระบบบริการดูแลสุขภาพได้ และร้อยละ ๖๒ ของผู้สูงอายุทั้งหมดมีปัญหาด้านสายตาและการมองเห็นซึ่งร้อยละ ๔๔ ของผู้มีปัญหาสายตาและการมองเห็น จำเป็นต้องใช้แว่นตา แต่ยังไม่มีแว่นสายตาใช้ ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้คัดกรองเพื่อจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุตามภาวะพึ่งพิงและประเมินความจำเป็นด้านการสนับสนุนบริการ และจัดบริการด้านสุขภาพและสังคม จำนวน ๖,๓๙๔,๐๒๒ ราย จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคมประมาณ ๕ ล้านคน และกลุ่มติดบ้านติดเตียง ประมาณ ๑.๓ ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจากทีมหมอครอบครัว ดังนั้น รัฐบาลจึงตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเมื่อประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มศักยภาพ นโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ แลมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการ การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล(long term Care) “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน


ในเขตเทศบาลนครตรัง มีทั้งสิ้น ๒๗ ชุมชน มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น๓,๔๖๑ คนจากการสำรวจ ณ ตุลาคม ๒๕๕๙ มีผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิง แยกตามรายกลุ่ม ได้ดังนี้
กลุ่มพึ่งพิง ทั้งสิ้น๑๐๖คน กลุ่ม ๑ ๕๖คน กลุ่ม ๒ ๒๒คน กลุ่ม ๓ ๑๘คน กลุ่ม ๔๑๐คน โรงพยาบาลตรัง และเขตเทศบาลนครตรัง เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบล(Long Term Care) “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมผู้สูงวัย เข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้” จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Care Giver) เขตเทศบาลนครตรัง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Care Giver) ให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ

Care Giver มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ความมั่นใจ ในการดูแลผู้สูงอายุ

2 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ ๒.สำรวจ เตรียมเอกสารและเชิญกลุ่มเป้าหมาย ๓.ดำเนินการจัดกิจกรรม ๔.สรุปผลโครงการและประเมินผลงาน ๕. ประเมินผลลัพธ์โครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Care Giver) เข้ารับการอบรมฯ ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
  • อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่(Care Giver) ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะ ความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2560 10:33 น.