กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ อบต.กายูบอเกาะ(โรคหัด)
รหัสโครงการ 62-L4153-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะ
วันที่อนุมัติ 22 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 พฤศจิกายน 2561 - 6 พฤศจิกายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2561
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดำรงค์ นะยะอิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.476,101.413place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 พ.ย. 2561 6 พ.ย. 2561 21,000.00
รวมงบประมาณ 21,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคหัดระบาด
2.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่มีการระบาดของโรคหัดทั่วทั้งจังหวัดยะลาในตอนนี้ พบว่ามีผู้ติดโรคหัดยอดรวมสะสมตั้งแต่เดือนกันยายนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วย 890 ราย มีผู้เสียชีวิต 10 ราย จาก อ.กรงปินัง 4 ราย อ.กาบัง 2 ราย อ.ธารโต 2 ราย และ อ.บันนังสตา 2 ราย ซึ่งทุกรายอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ล้วนไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และมีภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบและขาดสารอาหาร ทั้งนี้มาตรการยุติการระบาดโรคหัด จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ มาตรการการควบคุมโรค ซึ่งการฉีดวัคซีนโรคหัดตามเกณฑ์ อายุ 9 เดือน ถึง 2 ปีครึ่ง ต้องฉีดให้ครอบคลุม 95 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำให้ไม่เกิดการระบาดของโรคหัดในชุมชน แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนครอบคลุมแค่ 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต้องควบคุมการระบาดโรคหัด คือเก็บตกในกลุ่มที่ยังซีดวัคซีนไม่ครบในเด็กอายุ 9 เดือนถึง 5 ขวบ และตอนนี้ได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนมาตรการการวิเคราะห์พื้นที่ ที่มีการรับวัคซีนต่ำมาก จากปัญหาหลายๆด้าน ทั้งความเชื่อ ทัศนคติ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีนโรคหัด โดยมีการให้ผู้นำศาสนาสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน และมาตรการการดูแลผู้ป่วยโรคหัดในโรงพยาบาล จะมีการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และการแพร่กระจายโรคหัดในโรงพยาบาล โดยมีการควบคุมพื้นที่ จัดหอผู้ป่วยแยก ซึ่งตอนนี้มีการแยกทุกพื้นที่แล้วทั้งโรงพยาบาลระดับจังหวัด อำเภอและโรงพยาบาลชุมชน รวมทั้งการห้ามเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าเยี่ยมผู้ป่วยโรคหัดเด็ดขาด การค่าเชื้อต่างๆ การระบายอากาศอย่างเป็นระบบโรคติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเพิ่มจำนวนในร่างกาย อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเกิดจากตัวเชื้อโรคหรือจากพิษที่เชื้อโรคนั้น เชื้อโรคจะติดต่อถ่ายทอดจากผู้ป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อมไปสู่คนปกติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคติดเชื้อ เมื่อมีการถ่ายทอดไปยังผู้อื่นแสดงว่ามีการะบาดของโรคนั้นขึ้นและจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับในพื้นที่อำเภอรามันมีเด็กป่วยเป็นโรคหัดแล้วทั้งสิ้น จำนวน 55 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน และพบว่าในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกายูบอเกาะ มีเด็กที่ปฏิเสธวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคหัดในชุมชนมีประสิทธิภาพ สามารถลดอัตราการเกิดโรคได้อย่างเป็นระบบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกายูบอเกาะจึงต้องมีมาตรการในการรณรงค์และสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสร้างความตระหนักที่เคร่งครัดในการรับผิดชอบต่อสังคมโดยการนำบุตรหลานไปรับวัคซีนตามที่แพทย์กำหนด เพื่อลดอัตราการป่วยตายและการแพร่กระจายของโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้

สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ร้อยละ 98

3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,000.00 1 21,000.00
3 - 6 พ.ย. 61 ลงพื้นประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนทราบถึงวิธีป้องกันและปฏิบัติตัวเมื่อเกิดโรค รวมถึงป้องกันการแพร่ระบาดสู่คนอื่นด้วยวิธีต่าง ๆ 0 21,000.00 21,000.00
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโรงเรียน ชุมชน โรงพยาบาล ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและองค์กรอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
    1. ลงพื้นประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนทราบถึงวิธีป้องกันและปฏิบัติตัวเมื่อเกิดโรค
    2. เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมาให้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการระงับ และป้องกันการแพร่ระบาดสู่คนอื่นด้วยวิธีต่าง ๆ
    3. ติดตาม ประเมินผล และสรุปผลกาดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้
  2. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น
  3. สามารถสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้
  4. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561 12:04 น.