กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ
รหัสโครงการ 62-L3341-2-1
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนดูแลรักษาพยาบาลชาวป่าซาไก(มันนิ)
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2561
ปี 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤศจิกายน 2561 - 28 มิถุนายน 2562
งบประมาณ 30,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายนิพลธ์ เขียวเอียด 2.นายณรงค์ชัย สงไข่ 3. นายชัยยุทธ บุญนุ้ย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ประเด็น
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน) ขนาด 10.00
  2. จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน) ขนาด 1.00
  3. จำนวนมันนิที่มีปัญหาฟันผุในกลุ่มมันนิ ขนาด 22.00
  4. จำนวนคนพิการ ขนาด 1.00
  5. จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน) ขนาด 1.00

กลุ่มชาติพันธุ์มานิ เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย มีถิ่นอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยใน 2 พื้นที่ คือเขตผืนป่าเทือกเขาบรรทัดบริเวณจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล และสงขลา และเขตผืนป่าเทือกเขาบรรทัดสันกาลาคีรี ในเขตจังหวัดยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป้นกลุ่มจังหวัดในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 12 สงขลา   สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตชาวมานิ มีรูปแบบการดำเนินชีวิตใน 3 ลักษณะ ได้แก่     กลุ่มที่อพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย หาของป่า-ล่าสัตว์แบบดุ้งเดิม ยังดำรงชีพเหมือนกับบรรพบุรุษครั้งบรรพกาล สร้างเพิงเล็กๆ ติดพื้นดิน หลังคามุงใบไม้ เรียกว่า “ทับ” เป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว อาหารได้จากมันป่า และใช้ลูกดอกอาบยาพิษในการล่าสัตว์ เร่ร่อนหากินไปในเขตป่าที่อุดมสมบรูณ์ มีการติต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชนภายนอกย้อยมาก     กลุ่มกึ่งสังคมชุมชน วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมบ้าง เนื่องจากถูกบีบคั้นจากสภาพป่าที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มคนภายนอกเพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่ามาขายและนำเงินไปซื้อข้าวสาร เนื้อหมู ขนม บุหรี่ กลุ่มนี้มีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ส่งผลคือสภาพป่าที่ขาดความอุดมสมบูรณ์กับความจำเป็นที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชนภายนอก     กลุ่มตั้งถิ่นฐานถาวร เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการมาจนมีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชาวบ้านพื้นราบทั่วไป มีการตั้งบ้านเรือน/ที่อยู่อาศัยแบบถาวร ดำรงชีวิตด้วยการทำสวนยางพาราเป็นหลัก รู้จักการเพาะปลูกข้าวไร่ เลี้ยงไก่ รู้จักค่าของเงินและใช้เงินในการแลกเปลี่ยน     มานิเป็นกลุ่มชนในวัฒนธรรมการหาของป่าล่าสัตว์ ดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืนไม่คุ้นเคยและรับรู้ต่อการพัฒนาของสังคมเมือง ได้รับผลกระทบจากปัญหาตัดไม้ทำลายป่าและการถางป่าเพื่อเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ทำให้อาหารขาดแคลน ปกติชนเผ่ามานิจะมีการอพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปหาที่อยู่ใหม่ทุกๆ 7-15 วัน ตามห่วงโซ่อาหาร ถูกรบกวน หรือมีสมาชิกในกลุ่มตายหรือเจ็บป่วยพร้อมกันหลายคน     ดังนั้น กลุ่มมานิ จึงจัดเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะคุกคามทั้งที่เกิดจากธรรมชาติที่เสื่อมโทรม รวมทั้งการปรับวิถีชีวิตตนเองให้อยู่รอดภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนเมือง และควรได้รับการดูแลและคุ้มครองสิทธิให้ได้รับบริการตามความจำเป็น     ในอดีต เมื่อเจ็บป่วยชาวมานิจะดูแลรักษากันเองตามภูมิปัญญาชาติพันธุ์และส่วนใหญ่ใช้สมันไพร ปัจจุบันสมุนไพรมีจำนวนลดน้อยลงเพราะพื้นที่ป่าลดน้อยลง เมื่อมีอาการหนักจะขอความช่วยเหลือจากคนคุ้นเคยให้พาไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล     กองทุนดูแลรักษาพยาบาลชาวป่าซาไก(มันนิ) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี โรงพยาบาลป่าบอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของมานิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ (มานิ)ขึ้น เพื่อให้มานิได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้  มานิได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับมานิได้ นอกจากนี้มานิยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค และการเข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพ

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้มานิสามารถเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. เพื่อให้มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น
  3. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำรงชีวิตของมานิ
  4. มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. การให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่มันนิ(มานิ)
  2. การส่งเสริมการจัดการขยะ
  3. ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
วิธีดำเนินการ

ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและเขียนโครงการ
6.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณดำเนินงาน
6.3 ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่
6.4 จัดทำแผนการดำเนินงาน / ประชาสัมพันธ์
6.5 ดำเนินการจัดกิจกรรม 6.6 ประเมินผลโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มานิสามารถเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2 มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น 3 ลดการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตของมันนิ 4 มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้