กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตำบลโคกหล่อ ปี 2562
รหัสโครงการ 2562 - L1490 - 1 - 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2562
งบประมาณ 131,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุนันท์ แก่นอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 207 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบัน สถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐและเอกชน ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคที่เรื้อรัง จะต้องใช้เวลายาวนานในการดูแลรักษา ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากร ต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่เริ่มเป็นโรคนี้มักไม่รู้ตัวมาก่อน หากไม่ได้รับการคัดกรองโรคแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะค้นพบ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค และผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อการควบคุมโรคที่ดีตั้งแต่แรกเริ่มจะนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนด้วยโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดหัวใจ ตาบอดจากเบาหวานและภาวะไตวายเรื้อรังได้ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 และครั้งที่ 5 พ.ศ.2556-2557 ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่าความชุกของโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 เป็นร้อยละ 8.8 และพบว่าร้อยละ 43.2 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อนสำหรับโรคความดันโลหิตสูงพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 เป็นร้อยละ 24.7 และมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 44.7 ที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูล การคัดกรองโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ ปี 256๑ในประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป (ไม่นับรวมผู้ป่วย) จำนวน ๔,๗๒๕คน พบผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวานจำนวน ๒๐๗คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๓๘และข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป (ไม่นับรวมผู้ป่วย) จำนวน จำนวน 4,๔๘๒คน พบผู้ที่เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๐๗คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๓๘ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35-74 ปี เพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

ร้อยละ 100 ของผู้สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจซ้ำเพื่อยืนยันการเป็นโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 131,000.00 0 0.00
1 พ.ย. 61 - 28 ก.พ. 62 เตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการคัดกรอง 0 120,200.00 -
1 พ.ย. 61 - 28 ก.พ. 62 ขอสนับสนุนวัสดุการแพทย์จากโรงพยาบาลตรัง 0 0.00 -
1 พ.ย. 61 - 28 ก.พ. 62 กิจกรรมการคัดกรองในแต่ละหมู่บ้าน 0 10,800.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1) เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
2) จัดทำแผนปฏิบัติงาน 3) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรม 4) ประชาสัมพันธ์โครงการ 5) จัดเตรียมเอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ ต่างๆในการจัดกิจกรรม

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงาน 1) สำรวจ และจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 2) ประชุมชี้แจง โครงการแก่ อสม. ทบทวนทักษะในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด การวัดความ ดันโลหิต การวัดรอบเอว การคำนวณดัชนีมวลกาย เป็นต้น
3) ออกปฏิบัติงานตามแผน โดยให้ อสม.นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อคัดกรองในหมู่บ้าน /ชุมชน
4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม. ร่วมกันประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรอง ภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ และลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 5) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้ความรู้และนัดผู้ที่ผลตรวจคัดกรองเข้าข่ายเป็นผู้ป่วย มาตรวจซ้ำเพื่อยืนยันโรค 6) บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม hosXp

ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1) สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แยกรายหมู่บ้าน และคืนข้อมูลกลับสู่ หมู่บ้าน/ชุมชน อสม.ให้ทราบข้อมูลสุขภาวะเพื่อมีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และส่งต่อในรายที่ผลการคัดกรองผิดปกติ
2) รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในอนาคตมีความตื่นตัว และสนใจในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น

2.ประชาชนที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ได้เข้าสู่ระบบการรักษาตามมาตรฐาน ได้รับติดตามอย่างต่อ เนื่องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2561 10:18 น.