กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ26 สิงหาคม 2562
26
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติมีความรู้ และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น
  2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อละ 60
  3. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ไม่น้อยว่าร้อยละ 60
กิจกรรมอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่26 สิงหาคม 2562
26
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้คู่สมรสใหม่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หญิงตั้งครรภ์และสามี มีคความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดความรักความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น

กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือญาติ ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่26 สิงหาคม 2562
26
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา
  2. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายในชุมชน
  3. จัดอบรมให้คามรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และ สามี หรือญาติ โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากผลการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่หรือเด็ก ปี 2562 ในเขต รพ.สต.บ้านกาแย การเต๊าะ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส มีหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทั้งหมด 134 คน ทั้งหมด พบว่าอัตราการฝากครรภ์อายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ เท่ากับร้อยละ 91.18 อัตราการคลอดในสถานบริการเท่ากับร้อยละ 100 อัตราหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์เท่ากับ ร้อยละ 88.24 อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 7.81 และทารกแรกเกิดได้รับการเยี่ยม ร้อยละ 100       จะเห็นได้ว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอด ยังไม่ผ่านเกณฑ์ยังคงต้องดำเนินงานและหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในงาน อีกทั้งหญิงตั้งครรภ์ยังขาดความตระหนักในการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ยังมีความเชื่อเดิม คือ ทานยาทำให้ลูกโต คลอดยาก และรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กไม่ได้มีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งต้องแก้ไขในระยะยาวต่อไป