กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ28 สิงหาคม 2562
28
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการทราบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี มีภูมิคุ้มกันต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และป้องกันการาตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามวัย และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ
  2. เด็กและเยาวชนทั้วไปมีทักษะ มีภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเรื่องเพศ มีความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องบทบาท และคุ้มค่าของความเป็นชาย/หญิงในสังคม พัฒนาการทางเพศการจัดการอารมณ์ สัมพันธ์ภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น
  3. เด็กและเยาวชนทั่วไปมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏฺเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
  4. วัยรุ่นได้มีความรู้เรื่องเอดส์ และรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง28 สิงหาคม 2562
28
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผู้นำสันทนาการเป็นผุ้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อส้รางความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ผู้นำกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้     2.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรในประเทศไทย     2.2 กิจกรรมและเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง     2.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ     2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่งทางเพศ
  3. ผู้นำประบวนการกล่าวสรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ปี 2562 ในเขตรพ.สต.บ้านกาแย กาเต๊าะ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส มีวัยรุ่นอายุตำ่กว่า 19 ปี จำนวน 30 คน ผ่านการอบรมให้ความรู้ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100       จะเห็นได้ว่า อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งวัย 19 ปี ลงมาที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ยังคงมีพบในเขตพื้นที่จะส่งผลกระทบหลายอย่างคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม และอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอด ส่งผลทำให้ยังไม่ผ่านเกณฑ์ยังคงต้องดำเนินงานและหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไป