กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคความดันและเบาหวาน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 76,415.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฏฐณิชา ริทธิ์โต (นักวิชาการสาธารณสุข)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากที่สุดในปัจจุบันและยังเป็นสาเหตุของการตายและความพิการที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็ง เหล่านี้ เป็นต้น จากผลการดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปี 2557 และปี 2558 ได้ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลการดำเนินมีดังนี้ ปี 2557 คัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 92.44 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 474 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.63 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 141 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.18 และปี 2558 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 98.34 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 417 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.63 และพบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 149 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.18 และในปี 2557 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการขึ้นทะเบียนที่ รพ.สต.ท่ามะปราง 225 ราย , เบาหวาน 126 ราย ในปี 2558 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้น 12 ราย รวมเป็น 237 ราย และโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้น 5 ราย รวมเป็น 131 ราย ในปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 146 คน และป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 249 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยรายใหม่มาขึ้นทะเบียนเพื่อรับการรักษาต่อที่ รพ.สต.ท่ามะปรางมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นเพื่อเป็นการลดปัญหาการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยรายใหม่ โดยจะต้องเริ่มกดำเนินการตั้งแต่คัดกรองโรคในกลุ่มประชาชนทั่วไป และนำกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่ให้กลายเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคคว่ามดันโลหิตสูงเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยงประจำปี 2560 ขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

 

4 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

 

5 เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนในชุมชน มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองตลอดจนสมาชิกในครอบครัว เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

    • ประชุม อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
    • จัดอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. และฝึกทักษะการปฏิบัติพร้อมชี้แจงเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงเพื่อให้สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    • จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายและมอบให้ อสม. ติดตามเพื่อให้มารับบริการการตรวจคัดกรอง
    • ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวของมัสยิด และติดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน
    • จัดกิจกรรมรณรงค์ในหมู่บ้าน(ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน)
    • สรุปผลการตรวจคัดกรอง
  2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

    • แต่งตั้งคณะทำงาน(ให้ชุมชนมีส่วนร่วมประกอบไปด้วย อสม. ผู้นำออกกำลังกายของหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข)
    • จัดตั้งคลินิก DPAC เพื่อให้บริการกลุ่มเสี่ยง
    • จัดทำระเบียนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ
    • วางแผนและกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในกลุ่มเสี่ยง
    • คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 50 คน
    • นัดกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจสุขภาพ ก่อนเข้าโครงการ
    • จัดกิจกรรมต่างๆให้กับกลุ่มเสี่ยง เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้คำปรึกษาในด้านสุขภาพหรือการออกกำลังกาย ฯลฯ
    • ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงเดือนละ 1 ครั้ง (หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)
    • ประเมินผลการดำเนินงานหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6 เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้เพิ่มขึ้น
  2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  4. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองและได้รับการส่งต่อในรายที่ตรวจพบความผิดปกติอย่างเหมาะสม
  5. มีคลินิก DPAC ใน รพ.สต.และมีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2560 16:06 น.