กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง


“ อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ ”

ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสาวปถมาภรณ์ ตรีรัญเพ็ชร

ชื่อโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2562-L6896-01-16 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึง


กิตติกรรมประกาศ

"อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 2562-L6896-01-16 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2561 - (ยังไม่ระบุ) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 63,633.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม(Office syndrome)เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ เบื้องต้นผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการปวดคอ บ่า ไหล่ อาจจะมีอาการปวดหลัง ปวดเอว หากเป็นมากการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อมัดที่ใช้เป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการกดทับของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการ เช่น ปวดร้าวขึ้นศีรษะหรือปวดร้าวลงแขน ปวดร้าวบริเวณรอบๆ กระบอกตาทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง บางครั้งมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย และท้ายสุดอาจจะเกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อทำให้กระดูกสันหลังคดงอหรือผิดรูปได้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 ขึ้นไป) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวนถึง 28.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3และจากผลสำรวจพนักงานที่ทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คน พบว่าร้อยละ 60 มีอาการเจ็บป่วยจากการทำงาน โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ 1.ปวดหลังเรื้อรัง 2.ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง และ 3. มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค พฤติกรรมที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เช่น การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไปสภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลายเป็นต้น
      กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย และไม่ได้พบเฉพาะบุคคลที่ทำงานในออฟฟิศเท่านั้น ยังพบในผู้ที่ใช้มือและแขนทำงานเป็นเวลานานๆ เช่น กลุ่มแม่ค้า ผู้ใช้แรงงานต่างๆ กลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา และผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ(IT)เป็นต้น
      การนวดไทยเพื่อสุขภาพ เป็นการนวดที่ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน และป้องกันและรักษาโรคในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดีในเบื้องต้น มีประโยชน์ในการกระตุ้นระบบการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย รักษาอาการปวดเมื่อยจากการทำงานเบื้องต้นและป้องกันไม่ให้เกิดโรคในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังและนำไปสู่การกดทับของเส้นประสาท กระดูกสันหลังคดหรือผิดรูปหรือไม่ให้เป็นมากขึ้นกว่าเดิมได้ ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการรับการรักษาโดยการนวดไทย หรือสนใจนวดไทยเพื่อสุขภาพเพื่อบำบัดอาการให้แก่บุคคลในครอบครัว ควรมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการนวดไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และป้องกันการผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดจากการนวดไทยโดยการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้นวด       เทศบาลนครตรังมีหน้าที่เกี่ยวกับ การให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และงานเผยแพร่และฝึกอบรม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครตรัง มีหน้าที่จัดและฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครตรังให้มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ดังนั้นจึงเห็นความสำคัญในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาการนวดไทย
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะ เข้าใจการนวดและกำหนดจุดได้ถูกต้อง
  3. เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย ลดอัตราการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และการปวดเมื่อยจากการทำงาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการ ประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กลุ่มเป้าหมายมีได้รับความรู้เกี่ยวกับการนวดไทยเพื่อสุขภาพอย่างถูกต้อง และมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้
  3. ส่งเสริมภูมิปัญญาการนวดแผนไทย ให้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ลดปริมาณการใช้ยารักษาโดยไม่จำเป็น
  4. ผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย เกิดความรักความอบอุ่นในครอบครัว จากการเอาใจใส่ดูแลต่อกัน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมเชิงปฏิบัติการ ประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ

วันที่ 30 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินกิจกรรม 2 วัน ในวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2562 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลนครตรัง มีการบรรยายและฝึกปฏิบัติการนวด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ผู้ทำแบบทดสอบ 40 คน คะแนนเด็ม 10 คะแนน ก่อนอบรม 6.90 หลังอบรม 9.23
  2. ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถปฏิบัติการนวดไทยได้อย่างถูกต้องตามแนวเส้นพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมากกว่าตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80
  3. ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจโดยเฉลี่ยมากที่สุด

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาการนวดไทย
ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาการนวดไทย ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะ เข้าใจการนวดและกำหนดจุดได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรมสามารถฝึกปฏิบัติและนวดได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00

 

3 เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย ลดอัตราการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และการปวดเมื่อยจากการทำงาน
ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรมร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถของประชาชน ในการดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาการนวดไทย (2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีทักษะ เข้าใจการนวดและกำหนดจุดได้ถูกต้อง (3) เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกาย ลดอัตราการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และการปวดเมื่อยจากการทำงาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ ประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


อบรมเชิงปฏิบัติการประยุกต์ศาสตร์นวดไทยเพื่อป้องกันโรคภัยและดูแลสุขภาพ จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2562-L6896-01-16

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวปถมาภรณ์ ตรีรัญเพ็ชร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด