โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ |
รหัสโครงการ | 60-L6961-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานฝากครรภ์ รพ.สุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 7,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | งานฝากครรภ์ รพ.สุไหงโก-ลก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.008,101.949place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอดและจากสถิติประจำปีงบประมาณ 2559 ของโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกพบว่า อัตรามารดาตายเท่ากับ 148.8 ต่อแสนการเกิดมีชีพ เป้าหมายอัตรามารดาตายไม่เกิน 15 ต่อแสนการเกิดมีชีพ ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานแม่และเด็ก
ปี 2559 แม้ว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอดเท่ากับร้อยละ 8.40 ซึ่งมีค่าต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายน้อยกว่า 10 %) แต่เนื่องจากภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก ทำให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม แล้ว ยังมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในอำเภอสุไหงโก-ลก
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดและเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง กลุ่มงานสูตินรีเวชและวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการ แก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
|
||
2 | 2.เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม
|
||
3 | 3.เพื่อลดมารดาคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ลดลงไม่เกินร้อยละ 7
|
||
4 | 4.เพื่อลดมารดาคลอดทารกก่อนกำหนด ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เปิดบริการคลินิกป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในวันพุธ เวลา 08.00-12.00 น. 2.จ่ายยาบำรุงธาตุเหล็กแก่หญิงตั้งครรภ์ทุกราย และเพิ่มบทบาทให้สามีเป็นผู้เตรียมยาเสริมธาตุเหล็กให้หญิงตั้งครรภ์กินทุกวัน 3.จัดกิจกรรมให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อแก้ไขภาวะโลหิตจาง และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาภาวะโลหิตจางที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางให้แก่ตนเอง โดยการนัดหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง และเชิญชวนให้สามี และครอบครัวหญิงตั้งครรภ์เข้ากลุ่มส่งเสริมความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมในระหว่างการตั้งครรภ์ 4.ออกเยี่ยมบ้านหรือโทรศัพท์กระตุ้นเตือนการกินยาและติดตามการกินยาเสริมธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง 5.ประสานงานเครือข่ายในชุมชนในการติดตามกระตุ้นเตือนการกินยาเสริมธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ ในกรณีไม่สามารถติดต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้ 6.ติดตามตรวจความเข้มข้นของเลือดทุกเดือนจนกระทั่งผลความเข้มข้นของเลือดเป็นปกติ
1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความสามารถดูแลตนเองในระหว่างตั้งครรภ์ได้และมีความปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง 2.อัตราการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ให้ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม 3.มารดาคลอดทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ลดลงไม่เกินร้อยละ 7 4.มารดาคลอดทารกก่อนกำหนด ลดลงร้อยละ 5 จากเดิม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2560 08:41 น.