โครงการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการป้องกันควบคุมโรคหัดตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ชื่อโครงการ | โครงการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการป้องกันควบคุมโรคหัดตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
รหัสโครงการ | 62-L3027-05-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเขาตูม |
วันที่อนุมัติ | 12 พฤศจิกายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 12 พฤศจิกายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2561 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอายุ กาซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.603,101.314place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 250 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยอำเภอยะรัง มีการระบาดของโรคหัด จากข้อมูลสถานการณ์โรคจากระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน – 6 พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอยะรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนทั้งสิ้น 159 รายคิดเป็นอัตราป่วย 166.00 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต 3 รายคิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 1.89 โดยพบว่าตำบลมีอัตราป่วยมากที่สุด คือ ตำบลคลองใหม่ คิดเป็นอัตราป่วย 329.9ต่อแสนประชากร (จำนวน 13 ราย) รองลงมาได้แก่ ตำบลกระโด 312.2 ต่อแสนประชากร (จำนวน 14 ราย) ตำบลยะรัง 230.1 ต่อแสนประชากร (จำนวน 21 ราย) ตำบลระแว้ง 230.0 ต่อแสนประชากร (จำนวน 10 ราย) ตำบลกอลำ 220.4 ต่อแสนประชากร (จำนวน 12 ราย) ตำบลเมาะมาวี 219.7 ต่อแสนประชากร (จำนวน 22 ราย) ตำบลประจัน 198.5 ต่อแสนประชากร (จำนวน 15 ราย เสียชีวิต 3 ราย) ตำบลเขาตูม 197.3 ต่อแสนประชากร (จำนวน 31 ราย) ตำบลสะดาวา 130.5 ต่อแสนประชากร (จำนวน 9 ราย) ตำบลสะนอ 115.3 ต่อแสนประชากร (จำนวน 6 ราย) ตำบลวัด 92.3 ต่อแสนประชากร (จำนวน 4 ราย)และตำบลปิตูมุดี 18.7 ต่อแสนประชากร (จำนวน 1 ราย) ตามลำดับ โดยกลุ่มวัยที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (๘๒.๖%) กลุ่มอายุ 5 – 9 ปี (๑๓.๐%) กลุ่มอายุ 25 – 34 ปี (๒.๒%) และกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี (๒.๒%) ซึ่งสอดคล้องกับความครอบคลุมวัคซีนโรคหัดในพื้นที่ยะรังที่พบอยู่ในระดับต่ำ โดยพบความครอบคลุมวัคซีนโรคหัด เท่ากับร้อยละ ๖0.43 ซึ่งเป็นระดับความครอบคลุมวัคซีนโรคหัดที่ไม่สามารถป้องกันการกระจายโรคหัดในชุมชนได้ โดยภูมิคุ้มกันในชุมชนจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีความครอบคลุมวัคซีนโรคหัด มากกว่าร้อยละ ๙๕.๐ หากไม่สามารถเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนได้ ถ้าพบผู้ป่วย ๑ คน จะสามารถ ติดต่อสู่ผู้อื่น 18 คน นั้น ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขสอดคล้องกับปัญหา ตำบลเขาตูมจึงได้จัดทำโครงการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการป้องกันควบคุมโรคหัด ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายจากการเสียชีวิตด้วยโรคหัด เด็กเล็กได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม ส่งผลทำให้เป็นประชาชนมีความฉลาดทางสุขภาพนำไปสู่ความเด็กยะรังสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ให้ภาคีเครือข่ายและภาคประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพและความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้ 1.1 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน ให้ความสำคัญ มีความเชื่อและทัศนคติทางบวก และเห็นประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น 1.2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเด็กอายุ ๐-๕ ปี และกลุ่มผู้สัมผัสผ่านเกณฑ์ในพื้นที่เป้าหมาย
|
0.00 | |
3 | ๓. เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยโรคหัดลดลงเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน และลดการเสียชีวิตจากโรคหัด ตัวชี้วัด ๑. ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และความรู้ KPI๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและภาคประชาชนมีการเห็นความสำคัญของประโยชน์วัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น ร้อยละ ๙๐.๐ KPI๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและภาคประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ ๑๐๐.๐ ๒. ด้านลดป่วย ลดโรค KPI ๓ เด็กอายุ ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ KPI ๔ จำนวนผู้ป่วยโรคหัดลดลงเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี และอัตราป่วยตาย เท่ากับ ๐
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. การจัดกิจกรรมในสถานบริการ
๑.๑ จัดทำสื่อ และสนับสนุนสื่อแก่ภาคีเครือข่าย และหน่วยบริการ
๑.๒ การให้สุขศึกษาแบบเข้มข้นพร้อมใช้ปฏิทินสื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยสหวิชาชีพ
๒. การจัดกิจกรรมในชุมชน
๒.1 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนทราบ
๒.๒ ประชุมจัดทำแผนและมอบหมายหน้าที่แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และภาคประชาชน
๒.๓ จัดเวทีประชุมกำหนดแนวทางการควบคุมโรคในโรงเรียนแก่ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหาร
ท้องถิ่น อิหม่าม หัวหน้าส่วนราชการระดับตำบล
๒.4 อบรมให้ความรู้ในประเด็นต่อไปนี้
(๑) อบรมให้ความรู้ เรื่อง วัคซีนตามแนวทางการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตาม
หลักการแพทย์วิถีอิสลาม การป้องกันโรคจากวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
(๒) ฝึกทักษะวิธีการดูแลเด็กจากอาการข้างเคียงที่เกิดจากวัคซีน
๒.๖ เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อเสียงตามสาย เรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับโรค การดูแลสุขภาพของตนเอง
และการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดโรค และสนับสนุนสื่อแผ่นพับแก่กลุ่มเสี่ยง และชุมชน
- เด็ก 0 – ๕ ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดได้ครบตามเกณฑ์วัคซีน
- พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการให้บุตรหลานรับวัคซีนเพิ่มขึ้น
- เครือข่ายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตาดีกา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเด็กปฐมวัยได้รับวัคซีน
๔. ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี ให้ความสำคัญ มีความเชื่อและทัศนคติทางบวก และเห็นประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น
๕. ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคจากวัคซีน วิธีการดูแลภายหลังฉีดวัคซีน ความรุนแรงและผลกระทบจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ๖. จำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อที่ป้องกันด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ลดลงเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน ๗. เครือข่ายทุกภาคส่วนในชุมชน มีความเข้าใจที่ถูกต้องและมีส่วนร่วมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
- พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการให้บุตรหลานรับวัคซีนเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 00:00 น.