กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตำบลคลองน้ำใส
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดุลย์ หาญชิงชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ละติจูด-ลองจิจูด 13.59,102.514place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พยาธิใบไม้ตับ (opisthorchis viverrini) ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มพยาธิก่อมะเร็งและองค์การอนามัยโลกยังจัดพยาธิใบไม้ตับชนิดนี้ว่าเป็นตัวก่อมะเร็งชีวภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และถูกยืนยันอีกครั้ง    ในปี พ.ศ. 2552 จากรายงานการเสียชีวิตจากสาเหตุโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชน 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่าเสียชีวิต ปีละ 28,000 คน เฉลี่ยวันละ 76 คน 9 ใน 10    เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา 80,000 บาทต่อราย หรือประมาณ 22,400 ล้านบาทต่อปี จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีสูงสุด คือ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุดรธานี ยโสธร นครพนม อำนาจเจริญ และแพร่ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในทุกพื้นที่ในประเทศไทย  ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 5.00 ภายในปี พ.ศ. 2559 จากการสำรวจทางระบาดวิทยาโรคหนอนพยาธิของประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2552 พบว่า คนไทยร้อยละ 18.00 เป็นโรคหนอนพยาธิ พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ร้อยละ 26.00 ภาคเหนือพบร้อยละ 18.00 และพบอัตราติดโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 8.70 หรือคนไทยประมาณ 6 ล้านคน มีพยาธิใบไม้ตับอยู่ในร่างกาย และผู้ที่เคยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับและกินยารักษาพยาธิแล้วกลับมาเป็น  ซ้ำอีกสูงถึงร้อยละ 12.00 ซึ่งจากการวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยง พบว่าประชาชนในพื้นที่ที่พบโรคพยาธิใบไม้ตับสูง ยังคงกินอาหารที่ทำจากเนื้อปลาน้ำจืดเกล็ดขาวดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ เป็นประจำ ร้อยละ 7.00 และกินเป็นครั้งคราว ร้อยละ 84.00 และร้อยละ 38.00 ยังมีพฤติกรรมถ่ายอุจจาระนอกส้วม เช่น ในทุ่งนาเป็นบางครั้ง หาก    ไม่ดำเนินการควบคุมโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะทำให้สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับของประเทศไทยกลับมาเป็นปัญหารุนแรงขึ้นได้อีก (ศิวัชญ์ ทองนาเมือง และรุจิรา ดวงสงค์, 2555, หน้า 81-82)
โรคพยาธิใบไม้ตับส่วนใหญ่ไม่มีอาการ เมื่อมีพยาธิสะสมมากๆ เป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ออกร้อนบริเวณหน้าท้อง มีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ดีซ่าน ตับโต มีไข้ ระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยจะผอมซีด บวม บางรายเป็นโรคตับแข็ง มีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ เนื่องจากพยาธิหลั่งสารและหรือตัวพยาธิเองเกาะผนังลำไส้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อ    ผนังท่อน้ำดี และการอุดตันของท่อน้ำดี เนื่องจากพยาธิมีการเคลื่อนตัวไปมาในนั้น บางตัวอาจไปทำให้เกิดอุดตันท่อน้ำดีส่วนปลาย นอกจากนั้นของเสียที่ขับออกมาจากตัวพยาธิยังก่อให้เกิดการระคายเคืองของท่อน้ำดีอีกด้วย ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ตับอาจโตกดเจ็บ และเริ่มมีอาการตัวเหลือง เริ่มมีภาวะแทรกซ้อน เช่น  ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ มีไข้สูงปานกลาง ตัวเริ่มเหลืองมากขึ้น ตับโต กดเจ็บ เริ่มมีอาการตับแข็ง ม้ามโต แรงดันเลือดสูง อาจพบมะเร็งของท่อน้ำดีร่วมด้วย (ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ และสรญา แก้วพิทูลย์, 2553, หน้า 56) อาหารก่อโรคที่เสี่ยงต่อพยาธิใบไม้ตับที่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมกินที่ทำจากปลาที่ปรุงไม่สุก เช่น ก้อยปลา ปลาสด ปลาส้ม ปลาจ่อม หม่ำปลา ปลาหมกไฟ ปลาปิ้ง ลาบปลา ปลาร้า แจ่วบ่อง ซึ่งตัวอ่อนของพยาธิระยะติดต่อยังมีชีวิตอยู่ และสามารถเจริญเติบโตเป็นพยาธิตัวเต็มวัยในท่อน้ำดีภายในตับได้ นอกจาก      พยาธิใบไม้ตับที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งของท่อน้ำดีแล้ว ยังพบว่ามีสารไนโตรซามีน (nitrosamine)  ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในอาหารพวกโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม และอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ก็เป็นปัจจัยเสริมก่อโรคด้วย (โกศล รุ่งเรืองชัย, ออนไลน์, 2555) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้ดำเนินการตรวจอุจจาระหาไข่หนอนพยาธิในประชาชนอายุ 2 ปีขึ้นไป ในพื้นพบว่า ปี พ.ศ. 2560 พบไข่หนอนพยาธิ จำนวน    11 ราย จากจำนวนผู้ส่งอุจจาระตรวจทั้งหมด 522 ราย คิดเป็นอัตราความชุกร้อยละ 2.10 พบอันดับหนึ่งคือพยาธิใบไม้ตับ และจากการสอบถามข้อมูลพบว่าบุคคลที่ตรวจอุจจาระหาไข่หนอนพยาธิ ตรวจไม่พบ แต่ยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ยังคงมีพฤติกรรมทานอาหารนิยมกินที่ทำจากปลาที่ปรุง  ไม่สุก เช่น ก้อยปลา ปลาสด ปลาส้ม ปลาจ่อม หม่ำปลา ปลาหมกไฟ ปลาปิ้ง ลาบปลา ปลาร้า แจ่วบ่อง เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ และเป็นวัฒนธรรมที่นิยมทานปลาดิบมาแต่    บรรพบุรุษ ถึงแม้ว่าผลการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิในพื้นที่ตำบลคลองน้ำใส อัตราความชุกยังไม่เกินร้อยละ10  แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส จึงได้จัดทำโครงการโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ      ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ

ร้อยละ 80 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผ่านเกณฑ์คะแนนการทดสอบความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับ

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไมตับลดลง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผ่านเกณฑ์คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 2 30,000.00
??/??/???? อบรม “โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ” 0 30,000.00 30,000.00
??/??/???? เยี่ยมบ้านประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วม“โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ” 0 0.00 0.00
  1. ค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยการใช้แบบสอบถามสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองน้ำใส เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโปรแกรม
    1. ประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ เข้าร่วมโปรแกรม โดยเชิญชวนและสมัครเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 70 คน
    2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคพยาธิใบไม้ตับ เข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตามตารางกำหนดการอบรม (2 วัน)
    3. ติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    4. สรุปวิเคราะห์ข้อมูล
    5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับภายหลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ร้อยละของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ภายหลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 12:46 น.