กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 24,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดุลย์ หาญชิงชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ละติจูด-ลองจิจูด 13.59,102.514place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1837 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 620 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ
70.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
80.00
3 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
60.00
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
70.00
5 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่
50.00
6 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของโลก เป็นภัยคุกคามที่ลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก  ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ รายงานว่าในปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 4 ล้านคนต่อปี เฉลี่ย 8 วินาทีต่อ 1 คน และพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 300 ล้านคน คนที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางมีโอกาสมีโอกาสเป็นเบาหวานเร็วกว่าคนที่      อยู่ในประเทศที่มีรายได้สูง 10-20 ปี โดยพบมากขึ้นในวัยทำงาน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าทั่วโลก    มีผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงเกือบถึง 1,000 ล้านคน สองในสามของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาโดยพบว่าคนในวัยผู้ใหญ่ของเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ประชากร 1 ใน 3 คน จะมีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ละปีประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 1.5 ล้านคน  (วิชัย เทียนถาวร, 2556, หน้า 6) องค์การอนามัยโลกรายงานใน พ.ศ.2549 ว่าประชากรโลกถึง 1 ใน 4      มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน และคาดการณ์ว่าปัญหาจะรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ.2558 อัตราภาวะน้ำหนักเกินจะสูงขึ้นเป็น 1 ใน 3 นอกจากนี้เด็กมีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีถึง 22 ล้านคนที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ในจำนวน  นี้ประมาณ 3 ใน 4 ของเด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและต่ำ (นงนุช ใจชื่น และทักษพล ธรรมรังสี, 2557, หน้า 4-30)
สถานการณ์ในประเทศไทยสองปีที่ผ่านมา มีคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 3.5 ล้านคน แต่มีถึง      1.1 ล้านคนที่ไม่รู้ว่าตนเองป่วย ที่น่าห่วงยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ผู้ป่วยเหล่านี้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองสูงกว่าคนปกติถึง 2-4 เท่า และมากกว่าครึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาทและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย เกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา เท้า และไต (วิชัย เทียนถาวร, 2556, หน้า 6) ส่วนคนไทยที่ป่วยด้วย    โรคความดันโลหิตสูง เกือบ 11 ล้านคน เสียชีวิต 5,165 คน และพบป่วยรายใหม่เพิ่มเกือบ 1 แสนคน ร้อยละ 50 ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค มีแนวโน้ม (ชัชดนัย มุสิกไชย พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ และสุจินต์ ชวิตรานุรักษ์, 2558, หน้า 9)  ส่วนโรคอ้วน พบว่าการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547 และครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ย  ดัชนีมวลกาย ของประชากรชายและหญิงไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในผู้หญิงเพิ่มร้อยละ 34.40        เป็นร้อยละ 40.70 ส่วนในผู้ชายเพิ่มจากร้อยละ 22.50 เป็นร้อยละ 28.40 ภายในระยะเวลา 7 ปี และ      เมื่อเปรียบเทียบภาวะอ้วนลงพุง พบว่าความชุกเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากการสำรวจ พ.ศ. 2547 ในผู้หญิงร้อยละ 36.10 ส่วนในผู้ชายร้อยละ 15.40 เพิ่มเป็นร้อยละ 45.00 และ 18.60 ในพ.ศ.2552 ตามลำดับ นอกจากนี้เกือบ 3 ใน 10 คนของผู้ชายไทย และ 4 ใน 10 คนของผู้หญิงไทยอยู่ในเกณฑ์ภาวะน้ำหนักเกิน (BMI≥ 25-29.9 กก./ตร.เมตร) สำหรับภาวะอ้วน (BMI≥ 30 กก./ตร.เมตร) ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า มีร้อยละ 18.60 ในชายไทย และร้อยละ 45.00 ในหญิงไทย (นงนุช ใจชื่น และทักษพล ธรรมรังสี, 2557, หน้า 4-30)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส ได้ดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  มีประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมารับบริการตรวจคัดกรอง 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2558 คัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 2,229 ราย ผลงาน 1,256 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.35 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย    2,012 ราย ผลงาน 1,088 ราย คิดเป็นร้อยละ 54.08 ปี 2559 คัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 2,292 ราย ผลงาน 2,113 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.19 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 2,099 ราย ผลงาน 1,920 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.47 ปี 2560 คัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 1,837 ราย ผลงาน 1,476 ราย คิดเป็น    ร้อยละ 80.35 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 1,568 ราย ผลงาน 1,363 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.93  และผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ปีพ.ศ.2558-2560) พบว่า พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 63, 65 และ 77 ราย คิดเป็นร้อยละ (5.02 3.08 และ 5.22 ตามลำดับ) พบกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 8, 10 และ 25 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ (0.64 0.47 และ 1.69) พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 408, 550 และ 329 ราย ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ (37.50 28.65 และ 24.14) พบกลุ่มเสี่ยงสูง    โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 85, 144 และ 85 คิดเป็นร้อยละ (7.81 7.50 และ 6.24) ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 ขึ้นไป ซึ่งผลงานสามปีย้อนหลังพบว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดและยังพบกลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและลดลง จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส จึงได้จัดทำโครงการคัดรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลคลองน้ำใส  อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนสนใจสุขภาพตนเอง และเข้ามาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ได้รับทราบพฤติกรรมเสี่ยงของตนเองนำไปสู่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคและความดันโลหิตสูง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

50.00 45.00
2 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

50.00 45.00
3 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

70.00 50.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

60.00 40.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

70.00 40.00
6 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

80.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,320.00 2 24,320.00
??/??/???? คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 24,320.00 24,320.00
??/??/???? ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละ 90 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยยละ 100 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด สุรา และสูบบุหรี่ ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้ความรู้ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคได้แก่ อาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด สุรา และสูบบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2561 13:36 น.