กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.กุดกะเสียน
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 14,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.กุดกะเสียน
พี่เลี้ยงโครงการ สสอ.เขื่องใน
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.กุดกะเสียน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ธ.ค. 2561 31 ธ.ค. 2561 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (14,300.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
70.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
30.00
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
20.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพ เป็นองค์ประกอบสำคัญของบุคคล ครอบครัว และชุมชน  เป็นผลที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม  ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง หากบุคคลมีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้สามารถกระทำกิจกรรมใดๆได้อย่างเต็มที่  สามารถให้การดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชนให้มีสุขภาพดีตามไปด้วย ทั้งนี้สุขภาพดี หมายถึง การมีสุขภาพจิตดี และสวัสดิภาพทางสังคมอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เมื่อชุมชนนั้นๆมีสมาชิกที่มีสุขภาพดีทั้งกาย จิต และสังคม  จะร่วมกันดุแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเต็มที่และเต็มใจ
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งความเจริญทางด้านเทคโนโลยี วัตถุ สังคม การเมืองและเศรษฐกิจรวมไปถึงลักษณะของประชากรและภาวะสุขภาพ มีการขยายตัวของประชากรสูง  การเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย  แต่วิทยาการทางการแพทย์สามารถให้การรักษาได้มากขึ้น  ปัจจุบันจึงเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งการเจ็บป่วยย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาวะสุขภาพในระยะยาว  การเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิซึม ( รวมเบาหวาน ) ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าการเจ็บป่วยเป็นผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ชอบบริโภคอาหารฟาดฟูดมีแป้งและไขมันสูง  ขาดการออกกำลังกาย มีการใช้บุหรี่ สุราและสารเสพติด การทำงานแบบนั่งโต๊ะมีเคลื่อนไหวร่างกายน้อย มีภาวะเครียด เป็นต้น จากปัญหาสุขภาพดังกล่าว แกนนำชุมชนและ อสม.บ้านกุดกะเสียน จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหา แทนการมุ่งเน้นการรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถลดปัญหาได้ โดยใช้แนวคิด การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion ) โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง รวมทั้งเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เป็นต้นแบบด้านสุขภาพ  จึงได้จัดทำ ” โครงการสร้างสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ” ขึ้น โดยการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเร่งสลายไขมันรอบพุง  มุ่งปรับปรุงพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

70.00 80.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 50.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 50.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

20.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,300.00 4 14,300.00
??/??/???? ประชุมชี้แจงและคัดเลือกแกนนำ 0 0.00 0.00
??/??/???? อบรมแกนนำและออกกำลังกายในชุมชน 0 800.00 800.00
??/??/???? จัดกิจกรรมออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน/สัปดาห์ 0 13,500.00 13,500.00
??/??/???? ติดตามประเมินผลและเยี่ยมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ 2.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ 3.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ 4.เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 16:05 น.