กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บวร รวมใจ สร้าง จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุบ้านท่าข้ามปี 4
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถแบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2) ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 3) ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, 2015) สังคมสูงอายุเป็นสถานการณ์ที่โลกและหลายประเทศกำลังเผชิญซึ่งขณะนี้ประชากรโลกได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้วโดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 901 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดภูมิภาคอาเซียนมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 55 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 9ส่วนในประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16 ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มอาเซียนโดยไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ 1 ใน 10 ของประชากรไทย เป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและคาดว่าประเทศไทยจะเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (Aged society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประมาณการว่าจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมดซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนระดับที่รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (อนันต์, 2560) สืบเนื่องจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจำปีการศึกษา 2558 ได้ริเริ่มจัดทำโครงการ “บวร” รวมใจสร้าง “จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุ” บ้านท่าข้าม (ปีที่ 1) ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยการส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนวัดท่าข้ามได้มีส่วนร่วมในการดูแลและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้เกิดทัศนคติที่ดี มีการเชิญพระคุณเจ้าจากวัดท่าข้ามมานำสวดเจริญพรเพื่อเสริมสร้างความสงบ สร้างสมาธิแก่ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมโครงการ มีการดูแลช่วยเหลือและติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกับผู้นำชุมชนซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนสอดคล้องตามแนวคิด “บวร” ที่เป็นความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนโดยได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในชุมชนส่งผลให้มีการจัดโครงการสืบเนื่องมาตลอดในปีการศึกษา 2559 และ 2560 และในปีการศึกษา 2561 จากการทำประชาคมร่วมกับชุมชน ทางชุมชนมีความประสงค์ให้จัดโครงการอย่างต่อเนื่อง และทางโรงเรียนวัดท่าข้ามมีความสนใจและสนับสนุนให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบกับจากการสำรวจข้อมูลในชุมชน พบว่ายังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ยังขาดการดูแลอย่างทั่วถึง ทางคณะนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ปีการศึกษา 2561 จึงเล็งเห็นว่าปัญหาการดูแลผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ควรตระหนักและให้ความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการ “บวร”รวมใจสร้าง “จิตอาสาวัยใส ใส่ใจผู้สูงอายุ” บ้านท่าข้ามปี 4 โดยทางโรงเรียนวัดท่าข้ามได้มุ่งเน้นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้กับเยาวชนโดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณและส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้ศักยภาพของตนเองในการดูแลและไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน ร่วมกับนักศึกษาพยาบาลและสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างแท้จริง ช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย และเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างผู้สูงอายุกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
??/??/???? 1.สร้างจิตอาสา (จิตอาสา + อสม.) (โรงเรียนวัดท่าข้าม) 0 4,000.00 -
??/??/???? 2.ส่งเสริมจิตอาสาวัยใส (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับโรงเรียนวัดท่าข้าม) 0 2,450.00 -
??/??/???? 2.1 กิจกรรม “นวดผ่อนคลาย สบายจังเลย” 0 1,940.00 -
??/??/???? 2.2 กิจกรรม “ขยับกาย สบายชีวี ดูดีสมวัย” 0 630.00 -
??/??/???? 2.3 กิจกรรม “อ่านอย่างเบิกบาน สำราญเพื่อสุขภาพ” 0 1,980.00 -
??/??/???? 3. มหกรรมสุขภาพ (คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับชุมชน) 0 24,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนจิตอาสามีความรู้เรื่องการนวดผ่อนคลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้สูงอายุรายเยี่ยมได้ถูกต้อง เหมาะสม
  2. นักเรียนจิตอาสามีความรู้เรื่องการยกพยุงผู้ป่วยติดเตียง การออกกำลังกายแบบ Active exercise (สำหรับผู้สูงอายุติดบ้าน) และแบบ Passive exercise (สำหรับผู้ป่วยติดเตียง) และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  3. ส่งเสริมการอ่านให้กับนักเรียนจิตอาสา
  4. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 40 คนได้รับการประเมินสุขภาพเบื้องต้น
  5. ผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 40 คน สามารถนำความรู้ที่ได้รับ เกี่ยวกับ การรับประทานอาหารตามโรค การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ การใช้ยา การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ และสามารถประเมินภาวะโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องต้น FAST track: stroke ได้ถูกต้อง
  6. สมาชิกในชุมชนให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจผู้สูงอายุในชุมชนมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561 00:00 น.