กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L8277-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 14,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชฏาพร กองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 14,780.00
รวมงบประมาณ 14,780.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด ซึ่งสารเคมีที่ใช้มีทั้งคุณและโทษ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ถูกต้อง และขาดความรู้ขาดความระมัดระวังย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้และผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมีนั้นได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นโรค ภาวะผิดปกติต่างๆ ความเครียด
เป็นต้น จากข้อมูลปี พ.ศ. 2559 พบว่า อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีตรวจพบระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดจำนวน 98 ราย ผล การตรวจหาระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด พบกลุ่มปลอดภัยจำนวน 72 คน กลุ่มปกติ จำนวน 19 คน มีความเสี่ยง จำนวน 3 คน นอกจากนี่ยังพบว่า ช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคพิษจาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ กลุ่มอายุระหว่าง 45-54 ปี ซึ่งกลุ่มประชากรวัยแรงงาน กลุ่มอาชีพรับจ้าง และเกษตรกรเป็นกลุ่มที่พบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด         จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกตษรกร เป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องครอบคลุมและทั่วถึง จัดบริการสุขภาพสำหรับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มอาชีพเสี่ยง จำนวน 520 ครัวเรือน เป็นการจัดบริการเชิงรุก ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลอย่างครบวงจร เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสสารเคมี กำจัดศัตรูพืช ได้รับความรู้ด้านการใช้สารเคมีกำจัด

 

0.00
2 2.เพื่อให้เกตษรกรและผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง

 

0.00
3 3.ได้รับการตรวจคัดกรอง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,780.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 ตรวจคัดกรองสารเคมีในร่างกาย ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพสัมผัส 0 14,780.00 -
  1. ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล และองค์กร ชุมชน       2. ให้ อสม. สำรวจกลุ่มเป้าหมายตามแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจาการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เมื่อพบว่ามีความเสี่ยง นัดหมายตรวจคัดกรอง       3. ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในร่างกาย ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเจาะเลือดหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรั่ม เพื่อดูว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงในระดับที่เป็นอันตรายหริอไม่ จำนวน 100 คน       4. วิเคาราะห์ข้อมูลผลการคัดกรอง จัดกลุ่มปกติ กลุ่มผิดปกติหรือพบมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย       5. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย       6. สนับสนุนให้ชุมชน/กลุ่มอาชีพ อสม. องค์กรในชุมชนมีการดูแลสุขภาพให้แก่เกษตรกร       7. จัดกิจกรรมสมุนไพรล้างพิษ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศตรูพืชมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย       2. เกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม       3. ชุมชน องค์กรต่างๆร่วมกันดูแลสุขภาพเกษตรกร ลดความเสี่ยงจาการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2561 11:37 น.