กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่บ้านร่วมใจ ใส่ใจโภชนาการในงานบุญ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโสภา ปันแจ้
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.575,99.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2561 31 ส.ค. 2561 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ
80.00
2 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
40.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
60.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน
60.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
60.00
6 ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน การจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติและยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิดพิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องของการเตรียมอาหารเพื่อจัดเลี้ยงในงานบุญประเพณีต่างๆ ที่หันมาใช้อาหารภาคกลางกันมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมของคนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลง ประกอบกับปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสารปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ เพราะฉะนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกันให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่   จากวิถีชีวิตของคนในชุมชน การรับประทานอาหารหรือการเลี้ยงอาหารในงานเลี้ยงต่างๆ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงอาหารในงานเลี้ยงต่างๆ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงด้วยลาบดิบอาหารที่สุกๆ ดิบๆ หรือไม่ได้ทำให้สุกด้วยความร้อน อีกทั้งแม่บ้าน พ่อบ้านจะปรุงอาหารตามรสชาติที่ชอบรับประทาน และส่วนใหญ่รสชาติจะเป็นแบบรสจัด เช่น รสหวาน มัน เค็ม หรือมีรสชาติที่เปรี้ยวจนเกินไป จึงทำให้ผู้รับประทานเสี่ยงกับหลายๆ โรค เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบอาหารควรตระหนักถึงความสำคัญของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ปรุงจากวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ คือปรุงด้วยเนื้อที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา เป็นเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ปรุงด้วยผักปลอดสารพิษ มีรสชาติไม่หวานจัดหรือเค็มจัด เน้นการปรุง โดยการต้ม ปิ้ง นึ่ง ย่าง ยำ เป็นต้น ถ้าเป็นประเภทผัดหรือแกงกะทิจะต้องใช้น้ำมันและกะทิแค่พอควร เป็นการประยุกต์หลักโภชนาการไปสู่ตำรับอาหาร และเป็นทางเลือกในการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ   ดังนั้น กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลบ้านกลาง จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้กลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลบ้านกลาง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร ลดการใช้สารปรุงแต่งต่างๆ ลง ลดหวาน มัน เค็ม จึงได้จัดทำโครงการแม่บ้านร่วมใจ ใส่ใจโภชนาการในงานบุญ ประจำปีงบประมาณ 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

80.00 85.00
2 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

40.00 45.00
3 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

60.00 65.00
4 เพิ่มครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

ร้อยละครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

60.00 65.00
5 เพิ่มครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์

60.00 65.00
6 เพิ่มพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้)

ร้อยละพื้นที่ผลิตอาหาร (ข้าว ผัก ผลไม้) ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

40.00 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
28 ส.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 25,000.00 -
  1. เสนอโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน ทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อชี้แจงการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ
  3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร ลดการใช้สารปรุงแต่งต่างๆ ลง ลดหวาน มัน เค็ม
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสตรีแม่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการปรุงอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร ลดการใช้สารปรุงแต่งต่างๆ ลง ลดหวาน มัน เค็ม
  2. งานบุญมีอาหารที่ปรุงสะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2561 13:50 น.