กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้โรคทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าชะมวง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 15 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,215.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.132,100.106place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 62 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ยังขาดความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ วุฒิภาวะ ทำให้เกิดผลกระทบตามมาหลายด้าน เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การแท้งและภาวะแทรกซ้อน การออกจากโรงเรียนกลางคัน การทอดทิ้งเด็ก เป็นต้น จากสถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นในประเทศไทย พบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเพิ่มขึ้นจากประมาณ 90000 คน ในปี พ.ศ.2543 เป็น 104289 คน ในปี 2558 ในจำนวนนี้เป็นการคลอดบุตรโดยวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 2988 คน นอกจากนั้นวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดบุตรเป็นครั้งที่สองขึ้นไปมีมากถึง 12702 คน หรือเท่ากับร้อยละ 12.2 ของการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-19 ปีทั้งหมด นอกจากนี้ ข้อมูลของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษายังพบว่า อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันด้วยเหตุสมรสในกลุ่มนักเรียนประถมศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2548-2555 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 เป็น 2.7 โดยในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มจากร้อยละ 5.1 เป็น 6.2 และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลายจากร้อยละ 4.2 เพิ่มเป็น 6.5 และสถานการณ์ของตำบลท่าชะมวงย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ปี 2557 ประชากรวัยรุ่น ทั้งหมด 801 คนท้อง 25 คน ท้องไม่พร้อม 7 คน และอยู่ในสถานศึกษา 1 คน ปี 2558 วัยรุ่นทั้งหมด 777 คน ท้อง 34 คน ท้องไม่พร้อม 6 คน และอยู่ในสถานศึกษา 1 คน ปี 2559 จำนวนวัยรุ่นทั้งหมด 787 คน ท้อง 35 คน ท้องไม่พร้อม 5 คน และอยู่ในสถานศึกษา 1 คน (ข้อมูลจาก คลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลรัตภูมิ) ผนวกกับสถานการณ์ของยาเสพติดในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้จัดทำสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหายาเสพติด พ.ศ.2558-2560 พบว่า กลุ่มเยาวชน อายุ 15-19 ปี เนื่องจากพบว่ากลุ่มนี้มีพฤติกรรมเสี่ยงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์สูงกว่ากลุ่มอื่นๆซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่เด็กมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าชะมวงประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้โรคทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปี 2560 เพื่อเป็นการกระตุ้น ป้องกัน และตระหนักให้กับกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และตระหนักในปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและอันตรายจากยาเสพติด

 

2 เพื่อลดปัญหาและผลกระทบจากปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

3 เพื่อให้มีคลินิกให้คำปรึกษาในสถานศึกษา

 

4 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    • ประชุมสรุปปัญหาสาธารณสุขในระดับตำบลเพื่อดำเนินแก้ไขปัญหาร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน
    • ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจ เชิญเข้าร่วมกิจกรรมและกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย โรงเรียนบ้านท่ามะปราง โรงเรียนบ้านเนินนิมิต โรงเรียนสายยิดวิทยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองยางแดงและโรงพยาบาลรัตภูมิ
    • เสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ
    • จัดทำหนังสือเชิญโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
    • จัดทำหนังสือเชิญเป็นวิทยากรจากโรงพยาบาลรัตภูมิเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
    • จัดทำหนังสือขอศึกษาดูงานศถานศูนย์บำบัดยาเสพติดสงขลาและสถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา
    • จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารความรู้
    • ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
  2. ขั้นดำเนินการ
    • กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการให้ความรู้ 1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ในกลุ่มนักเรียนขยายโอกาสในระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วย 1.1 การทดสอบความรู้ก่อนเข้าร่วมการอบรม 1.2 ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และกิจกรรมกลุ่ม 1.3 ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและกิจกรรมกลุ่ม 1.4 ทดสอบความรู้หลังการอบรม 2.จัดนิทรรศการให้ความรู้ภายในโรงเรียน 2.1 กำหนดใบงานให้กับนักเรียนทุกชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมในด้านความรู้
    • กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองในระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2560 1.กฏหมายเกี่ยวกับวัยรุ่น 2.จิตวิทยาและการพูดคุยกับวัยรุ่น
    • กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทัศนศึกษา 1.ทัศนศึกษาโรงพยาบาลธัญรักษ์สงขลาและสถานสงเคราะห์เด็กบ้านสงขลา ระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วย 1.1 ปัญหายาเสพติด 1.2 ผลที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด 1.3 ปัญหาจากการท้องก่อนวัยอันควร
    • กิจกรรมที่ 4 การจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาในสถานศึกษา 1.จัดประชุมครู-อาจารย์ ในการจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษา 2.จัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาในสถานศึกษา
  3. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ประสบการณ์ และตระหนักในปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สามารถลดปัญหาและผลกระทบจากปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2560 09:10 น.