กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ประชุมครั้งที่ 24 กรกฎาคม 2559
4
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย ครั้งที่ 2/2560 วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ  ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย ................................................................................................................................ ผู้มาประชุม 1 นายมนัส มรรคาเขต นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานกองทุน 2 นายเหม  ตามาต ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 1 รองประธานกองทุน 3 นายหยอ  หมัดอาดัม ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 2 รองประธานกองทุน 4 นายอลีฟ  บาหลัง ผอ.รพ.สต.ทุ่งนุ้ย กรรมการ 5 นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว ผอ.รพ.สต.บ้านควนบ่อทอง กรรมการ 6 นายสักรียา  แดสา สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 7 นายดลรอหมาน  บาหลัง อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 8 นายยะโกบ เย็นจิต อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 9 นายหมีด  อาสัน ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน กรรมการ 10 นางนงค์นุช  ปานกลาย ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน กรรมการ 11 นางสาวสุไรบ๊ะ  มรรคาเขต ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน กรรมการ 12 นางฉารีดา  หยาหลี ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน กรรมการ 13 นายอิสม่าแอน  หวันตะหา ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน              กรรมการ 14 นายสันติภาพ  ปังหลีเส็น ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กรรมการและช่วยเลขานุการ 15 นายพิศ  เพ็ชรสวัสดิ์ อนุกรรมการ 16 นางสาวไลล่า  บินตะสอน อนุกรรมการ 17 นางสาวรสนา  บาหลัง อนุกรรมการ

ผู้ไม่มาประชุม 1 นายวิรัช เอียดจับ สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ติดภารกิจ 2 นายคม  พรหมจรรย์ ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ติดภารกิจ 3 นายสถาพร สุวรรณมณี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ติดภารกิจ

ผู้เข้าร่วมประชุม 1 นายอาวุธ  โพธิ์แก้ว สาธารณสุขอำเภอควนกาหลง ที่ปรึกษา 2 นางสาวจันจิรา  มรรคาเขต
  เริ่มประชุมเวลา  13.30 น. เมื่อที่ประชุมพร้อมและครบองค์ประชุมแล้ว นายมนัส  มรรคาเขต ประธานในที่ประชุมกล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ทุ่งนุ้ย ครั้งที่ 2/2560 ตามลำดับดังนี้

ระเบียบวาระที่  1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ ประธาน 1.1 สถานะการเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2560
ขอเชิญผู้ช่วยเลขานุการ นายสันติภาพ  ปังหลีเส็น 1. ยอดยกมา จำนวน 193,310.28 บาท 2. รายการรับ - เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจาก สปสช. จำนวน 492,480.00 บาท - เงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจาก อบต. จำนวน 400,000.00 บาท - เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร จำนวน 947.51 บาท - เงินสมทบจากชุมชน เงินบริจาค เงินได้อื่นๆ จำนวน 0.00 บาท - เงินรับคืนจากการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จำนวน 0.00 บาท รวมรายรับ จำนวน 1,086,737.79 บาท 3. รายจ่าย - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข จำนวน 0.00 บาท - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น จำนวน 0.00 บาท - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนศูนย์ เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ จำนวน 0.00 บาท - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการบริหาร/พัฒนากองทุนฯ จำนวน 0.00 บาท - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ จำนวน 0.00 บาท รวมรายจ่าย จำนวน 0.00 บาท คงเหลือยกไป จำนวน 1,086,737.79 บาท มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่  2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ประธาน สำหรับรายงานการประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 22  มิถุนายน 2560 ได้ให้กรรมการทุกท่านแล้ว จึงเสนอที่ประชุมเพื่อรับรองรายงานการประชุมฯ มีคณะกรรมการท่านใดจะแก้ไขส่วนใดหรือไม่ ถ้าไม่มีขอมติรับรองรายงานการประชุม มติที่ประชุม รับรองการประชุมฯ โดยไม่มีการแก้ไข ระเบียบวาระที่  3 เรื่องเพื่อพิจารณา ประธาน 3.1 การพิจารณาประมาณการรายจ่ายเงินกองทุนฯ  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ขอเชิญผู้ช่วยเลขานุการ นายสันติภาพ  ปังหลีเส็น รายจ่ายเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ 2560 1.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนหน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข จำนวน 409,125.00 บาท 2.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น จำนวน 355,579.79  บาท 3.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนศูนย์ เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ  จำนวน 133,872.00 บาท 4.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการบริหาร/พัฒนากองทุนฯ  จำนวน 133,872.00 บาท 5.ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ  จำนวน 54,289.00 บาท   รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,086,737.79 บาท ประธาน สำหรับการพิจารณาประมาณการรายจ่ายเงินกองทุนฯ  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560  ตามที่ผู้ช่วยเลขานุการได้เสนอไปแล้วนั้นในลำดับถัดไป
  กระผมขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านพิจารณาและแก้ไขรายจ่ายเพิ่มเติม ขอเชิญครับ ประธาน เมื่อไม่มีกรรมการท่านใดแก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติม กระผมหวังว่าทุกท่านได้ทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้ว มติที่ประชุม รับทราบ ประธาน 3.2 การพิจารณารายจ่ายเงินกองทุนฯ ปีงบประมาณ  พ.ศ.  2560 ประกอบด้วย     ประเภทที่  1 สนับสนุนหน่วยบริการและสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่หน่วยงาน  ได้แก่ 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
น.ส.ไลล่า  บินตะสอน 1.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่อย่างไรห่างไกลไตวาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยปีงบประมาณ ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วย DM/HT ๒.เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนเกิดการเจ็บป่วยรุนแรง ๓.เพื่อกำหนดมาตรการ  และวิธีการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การสนับสนุนการดูแลรักษา และให้บริการที่เหมาะสมกับกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต เป้าหมาย -ผู้ป่วย DM /HT  จำนวน ๑๖๒ คน -ผู้ดูแลผู้ป่วย DM /HT ที่มีภาวะแทรกซ้อน  จำนวน ๖๐  คน -แกนนำ อสม. จำนวน ๓๕ คน
รวมจำนวน ๒๕๗ คน งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๗๐๐  บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.กลุ่มเป้าหมายความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง  และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
๒.กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมอย่างครบวงจร
๓.ผู้ป่วยDM/HTได้รับการเฝ้าระวังติดตาม  และป้องกันความเสี่ยง น.ส.ไลล่า  บินตะสอน 2.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล  ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้ความรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ๒.เพื่อสร้างระบบการรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ๓.เพื่อจัดตั้งทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้าน  มีการเฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง เป้าหมาย  รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ๗๒ คน งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๘๐๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.ผู้นำชุมชน  ผู้นำศาสนา  ครูอนามัยโรงเรียน ครูศูนย์เด็กเล็ก  ผู้ประกอบการโรงงาน  มีความรู้ ความเข้าใจโรคไข้เลือดออกมากขึ้น ๒.มีระบบรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน  สามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว ๓.มีคณะกรรมการภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน  ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ๔.มีทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว  สามารถดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ น.ส.ไลล่า  บินตะสอน 3.โครงการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ๑. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการและสามารถใช้คู่มือDSPM ในการตรวจพัฒนาการลูกในช่วงวัยปฐมวัย(กลุ่มอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ เดือน) ได้
๒. เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ  ได้รับการคัดกรองการตรวจพัฒนาการจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหากพบพัฒนาการล่าช้าสามารถทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ภายใน ๑ เดือน หากพบความผิดปกติสามารถส่งต่อในระดับต่อไป
๓. เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักให้ความสำคัญในการที่จะดูแลด้านโภชนาการและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้มากยิ่งขึ้น เป้าหมาย ๑. พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทั้งหมด ๔ ศูนย์  จำนวน    ๑๖๓    คน ๒. เด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทั้งหมด ๔ ศูนย์  จำนวน ๑๖๓  คน ๓.  เด็กปฐมวัยอายุ ๙ , ๑๘ , ๓๐ , ๔๒ เดือน จำนวน  ๑๕๔  คน ๔.  พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยอายุ ๙ , ๑๘ , ๓๐ , ๔๒ เดือน  จำนวน ๑๕๔  คน
งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๗๐๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการและสามารถใช้คู่มือDSPM ในการตรวจพัฒนาการลูกในช่วงวัยปฐมวัย(กลุ่มอายุ ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒ เดือน) ได้ ร้อยละ ๙๐ ๒.เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กในเขตรับผิดชอบ  ได้รับการคัดกรองการตรวจ  พัฒนาการจากเจ้าหน้าที่หากพบพัฒนาการล่าช้าสามารถทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ภายใน 1 เดือน หากพบความผิดปกติสามารถส่งต่อในระดับต่อไป ร้อยละ100 ๓.เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองตระหนักให้ความสำคัญในการที่จะดูแลด้านโภชนาการและ    สามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้มากยิ่งขึ้น ร้อยละ ๙๐ นางสาวนุสรีน่า เสรีรักษ์ 4.โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ด้านการควบคุมโรค ไม่ติดต่อ  งานคุ้มครองผู้บริโภค  งานหลักประกันสุขภาพ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล  ปีงบประมาณ ๒๕๖๐
วัตถุประสงค์ ๑.  เพื่อทบทวนบทบาทและภารกิจของ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามสภาพปัญหา  สาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป ๒.  เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม.ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับสภาพ  ปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ ๓.  เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน
เป้าหมาย รวมจำนวน ๑๒๘ คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๖๐๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ชุมชนมีการจัดการระบบการเฝ้าระวังและดูแลโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน และสามารถจัดการ ด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาพประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสาวนุสรีน่า เสรีรักษ์ 5.โครงการ “บำบัดชีวิตพิชิตโรคด้วยศาสตร์มณีเวช”
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อจัดสมดุลโครงร่างของร่างกาย 2.เพื่อมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของคนในชุมชนโดยใช้ศาสตร์มณีเวช
3.เพื่อลดภาวะความเจ็บป่วยจากการทำงานที่มากเกินไป
เป้าหมาย รวมจำนวนทั้งหมด 245 คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 31,700 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการจัดสมดุลโครงร่างของร่างกายที่ดี 2.โครงการนี้สามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของคนในชุมชนโดยใช้ศาสตร์มณีเวช
3.โครงการนี้สามารถช่วยลดภาวะความเจ็บป่วยจากการทำงานที่มากเกินไป นางสาวนุสรีน่า เสรีรักษ์ 6.โครงการฟันแข็งแรงทุกกลุ่มวัย วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ๑. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจฟันและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ๒. เพื่อให้ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจฟันและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ เป้าหมาย รวมทั้งหมด  ๒๓๗ คน
งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๗๐๐ บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ ๘๕ ๒. ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ ๖๐ ๓. ผู้สูงอายุในชมรมฯ ได้รับการคัดกรองตรวจฟัน ร้อยละ ๙๐ น.ส.ไลล่า  บินตะสอน 7.โครงการเตรียมพร้อมรับมือ ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ๒. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความความรู้ในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ๓.เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ เป้าหมาย ๑.หญิงวัยเจริญพันธ์จำนวน ๑๖๒ คน ๒. หญิงตั้งครรภ์และสามี  จำนวน ๑๐๗ คน
งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น ๓๑,๙๐๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้การป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์ร้อยละ ๘๐ ๒.หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ ๘๐ ๓. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ลดลง น.ส.ไลล่า  บินตะสอน 8. โครงการ บริหารจัดการขยะตามหลัก 3Rs เพื่อเป็นจังหวัดสตูลสะอาดแบบยั่งยืน ประจำปี ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ๑. เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นลดขยะแห้งและขยะเปียกจากต้นทาง และนำมาใช้ประโยชน์ลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองท้องถิ่น ๒. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงอันตรายที่เกิดจากขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะมีพิษอันตรายและทำการคัดแยกและจัดทำสถานที่รวบรวมขยะอันตรายไว้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ๓.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และรู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากขยะเหลือใช้ และขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้ ๔เพื่อนำผลที่ได้จากการคัดแยกขยะ ย่อยขยะในครัวเรือนไปใช้ประโยชน์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ตนเองและครอบครัว ชุมชน/หมู่บ้าน ตามหลักพึ่งพาตนเองต่อไป ๕.เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามนโยบายจังหวัดสตูล เป้าหมาย  บ้านทุกหลังคาเรือน  หมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน  ชุมชน อสม. และผู้นำชุมชน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น  35,000 บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ลดขยะแห้งและขยะเปียกปลายทาง โดยการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน ๒. ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่ นำความรู้ที่ได้ไปขยายต่อให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ๓. ประชาชน และชุมชน/หมู่บ้าน ได้เรียนรู้ รับทราบการคัดแยก การเก็บ การทิ้งขยะเหลือในถังขยะ ให้ถูกต้องและถูกวิธี  ลดขยะต้นทางในครัวเรือนต่อไป ๔. สร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของขยะและสิ่งของที่เหลือใช้ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าขยะคือสิ่งที่มีคุณค่าและราคา นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครัวเรือน ๕. ลดขยะปลายทางตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ตามแผนปฏิบัติการและลดขยะแบบยั่งยืน     สำหรับโครงการที่กล่าวมาข้างต้น ขอจบการนำเสนอโครงการและขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านซักถามข้อสงสัยในลำดับต่อไป ประธาน โครงการของ รพ.สต.ทุ่งนุ้ย ตามที่ผู้รับผิดชอบนำเสนอไปแล้วนั้นในลำดับถัดไป กระผมขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือซักถามข้อสงสัยต่อผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญครับ ประธาน เมื่อไม่มีกรรมการท่านใดสงสัยหรือซักถามเพิ่มเติม กระผมขอมติที่ประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการตามประกาศฯข้อ 7 (1) จำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 257,100 บาท รายละเอียดตามเอกสารที่ 2 โปรดยกมือขึ้น มติที่ประชุม เห็นชอบ    จำนวน  11 คน ไม่เห็นชอบ    จำนวน  -  คน 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 1. โครงการชะลอไตเสื่อม ร่วมมือกันดูแล ปี 2560 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 2.เพื่อให้อาสาสมัครครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 3.เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย - เป้าหมาย  1.อาสาสมัครครอบครัว  จำนวน  70  คน                 2.ผู้ป่วยเรื้อรัง            จำนวน  70  คน งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น 20,150 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 2.อาสาสมัครครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงภาวะไตเรื้อรังลดลง และลดอุบัติการณ์ในการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 2.โครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค รพ.สต.บ้านควนบ่อทอง ปี 2560 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน   2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง
  3. เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรค อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป้าหมาย อสม. และ แกนนำชุมชน จำนวน 110 คน งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น  20,950 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 3.โครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปี ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ๑.เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ๒.  เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป้าหมาย ๑.  กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามี จำนวน  ๒๐คู่ ๒.  กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ ๑๕-๔๔ ปี ในพื้นที่จำนวน ๗๕คน ๓.  อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตรับผิดชอบ(เฉพาะผู้หญิง) จำนวน๕๑คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น ๒๒,๖๐๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.  หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และมีความปลอดภัยจาก ภาวะโลหิตจาง ๒.  เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์และทารกขณะอยู่ในครรภ์และขณะคลอด ๓.  หญิงวัยเจริญพันธุ์เกิดความรู้ความเข้าใจ ปรับแนวคิดและให้ความสำคัญในการตื่นตัวต่อการมาฝากครรภ์ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 4.โครงการ”มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ตั้งแต่วัยเรียนปีงบประมาณ ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่๕-๖ ในโรงเรียนทุกสังกัด ๒.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนให้บริการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่๕ ๓.เพื่อประชาสัมพันธ์เรื่องวัคซีนป้องโรคมะเร็งปากมดลูกให้กับผู้ปกครองและบุคลากรในโรงเรียน ๔.เพื่อให้นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่๕-๖ มีความรู้ในเรื่องเพศศึกษาและการเตรียมตัวเข้าสู่วัยรุ่น กลุ่มเป้าหมายนักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่๕-๖ และครูผู้รับผิดชอบ จากโรงเรียนทุกสังกัด จำนวน ๑๐๐ คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น ๑๑,๒๕๐ บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.นักเรียนหญิงชั้นประถมปีที่ ๕-๖ ในโรงเรียนประถมศึกษาทุกสังกัดมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ๒.นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้รับบริการฉีดวัคซีนเอชพีวี ๑๐๐ % นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 5.โครงการเกษตรกรปลอดโรค  ผู้บริโภคปลอดภัย  ปีงบประมาณ 2560 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1.เพื่อให้ อาสาสมัครสาธารณสุขด้านอาชีวอนามัย (อส.อช.) มีความรู้ทักษะในการปฏิบัติงาน 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและคนที่มีเลือดผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป้าหมาย
1.อบรม อาสาสมัครสาธารณสุขด้านอาชีวอนามัย (อส.อช.)  จำนวน 84  คน
2.คัดกรอง เกษตรกรและผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง  จำนวน  400  คน 3.อบรม เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง  จำนวน  50  คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 24,400บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.อาสาสมัครสาธารณสุขด้านอาชีวอนามัย (อส.อช.) มีความรู้ทักษะในการปฏิบัติงาน 2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและคนที่มีเลือดผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา 3. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้  สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 6.โครงการชุมชนสร้างสรรค์ สมุนไพรสร้างสุข ประจำปี 2560
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. เพื่อส่งเสริมให้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล 2. เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ
3. เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการดูแล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง จำนวน 84  คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 15,650บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ชุมชนสามารถใช้พืชสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในชุมชน และเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล 2. ชมชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการปลูกและการนำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปอาหาร ยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อมาทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือประโยชน์อื่นๆ
3. เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการดูแล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 7.โครงการวัยใส ยิ้มสวย ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูลปีงบ ๒๕60 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. เพื่อให้ความรู้ทางทันตสุขภาพและการให้โภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้ปกครองของเด็ก 2. เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กแก่ผู้ปกครองของเด็ก 3. เพื่อส่งเสริมการทำงานเครือข่ายบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน 4. เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก กลุ่มเป้าหมาย  เด็กและผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน  75  คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 11,928  บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ด้านทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี ๒. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและการกินอาหารที่มีประโยชน์ ๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพแก่เด็กวัยก่อนเรียนและผู้ปกครอง


นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 8.โครงการ บริหารจัดการขยะตามหลัก 3Rs เพื่อเป็นจังหวัดสตูลสะอาดแบบยั่งยืน ประจำปี ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด ๑. เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นลดขยะแห้งและขยะเปียกจากต้นทาง และนำมาใช้ประโยชน์ลดภาระค่าใช้จ่ายขององค์กรปกครองท้องถิ่น ๒. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงอันตรายที่เกิดจากขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะมีพิษอันตรายและทำการคัดแยกและจัดทำสถานที่รวบรวมขยะอันตรายไว้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ๓.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และรู้จักวิธีใช้ประโยชน์จากขยะเหลือใช้ และขยะมูลฝอยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้ ๔เพื่อนำผลที่ได้จากการคัดแยกขยะ ย่อยขยะในครัวเรือนไปใช้ประโยชน์ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ตนเองและครอบครัว ชุมชน/หมู่บ้าน ตามหลักพึ่งพาตนเองต่อไป ๕.เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามนโยบายจังหวัดสตูล เป้าหมาย  บ้านทุกหลังคาเรือน  หมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน  ชุมชน อสม. และผู้นำชุมชน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 25,000 บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ลดขยะแห้งและขยะเปียกปลายทาง โดยการคัดแยกขยะและนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายในครัวเรือน ๒. ผู้นำชุมชน อสม. และเจ้าหน้าที่ นำความรู้ที่ได้ไปขยายต่อให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ๓. ประชาชน และชุมชน/หมู่บ้าน ได้เรียนรู้ รับทราบการคัดแยก การเก็บ การทิ้งขยะเหลือในถังขยะ ให้ถูกต้องและถูกวิธี  ลดขยะต้นทางในครัวเรือนต่อไป ๔. สร้างจิตสำนึกให้รู้คุณค่าของขยะและสิ่งของที่เหลือใช้ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าขยะคือสิ่งที่มีคุณค่าและราคา นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครัวเรือน ๕. ลดขยะปลายทางตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ตามแผนปฏิบัติการและลดขยะแบบยั่งยืน     สำหรับโครงการที่กล่าวมาข้างต้น ขอจบการนำเสนอโครงการและขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านซักถามข้อสงสัยในลำดับต่อไป ประธาน     โครงการของ รพ.สต.บ้านควนบ่อทอง ตามที่ผู้รับผิดชอบนำเสนอไปแล้วนั้นในลำดับถัดไป กระผมขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือซักถามข้อสงสัยต่อผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญครับ ประธาน     เมื่อไม่มีกรรมการท่านใดสงสัยหรือซักถามเพิ่มเติม กระผมขอมติที่ประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการตามประกาศฯข้อ 7 (1) จำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 151,928 บาท รายละเอียดตามเอกสารที่ 2 โปรดยกมือขึ้น มติที่ประชุม เห็นชอบ    จำนวน  11 คน ไม่เห็นชอบ    จำนวน  -  คน ประธาน     ประเภทที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยประชาชน และชุมชนท้องถิ่น/หน่วยงานอื่นประกอบด้วย นางสุภาภรณ์  พรหมแก้ว 1.โครงการผู้สูงวัย    ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2560 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่ดี 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองมากขึ้น 3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น เป้าหมาย  ผู้สูงอายุ จำนวน 100  คน
งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น  10,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่ดี 2.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองมากขึ้น 3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น     สำหรับโครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2560 ขอจบการนำเสนอโครงการและขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านซักถามข้อสงสัยในลำดับต่อไป ประธาน     โครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2560 ตามที่ผู้รับผิดชอบนำเสนอไปแล้วนั้นในลำดับถัดไป กระผมขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือซักถามข้อสงสัยต่อผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญครับ ประธาน     เมื่อไม่มีกรรมการท่านใดสงสัยหรือซักถามเพิ่มเติม กระผมขอมติที่ประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการตามประกาศฯข้อ 7 (2)  โปรดยกมือขึ้น มติที่ประชุม เห็นชอบ    จำนวน  11 คน ไม่เห็นชอบ    จำนวน  -  คน นายสักรียา  แดสา 2.โครงการ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2560 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนได้เล่นกีฬาไม่พึ่งพาสิ่งเสพติด 2. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ พลานามัยแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัยรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. เพื่อให้เยาวชนในหมูบ้านมีกิจกรรมร่วม มีความสามัคคีกันในหมู่บ้าน เป้าหมาย ประชาชนและเยาวชน จำนวน 40 คน งบประมาณ รวมเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เยาวชนและประชาชนในหมู่บ้านได้เล่นกีฬาและไม่พึ่งยาเสพติด 2. เยาวชนและประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น 3. เยาวชนและประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 5. เป็นแบบอย่างการส่งเสริมสุขภาพแก่ชุมชน     สำหรับโครงการ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2560 จบการนำเสนอโครงการและขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านซักถามข้อสงสัยในลำดับต่อไป ประธาน     โครงการ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2560 ตามที่ผู้รับผิดชอบนำเสนอไปแล้วนั้นในลำดับถัดไป กระผมขอเชิญคณะกรรมการทุกท่านเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือซักถามข้อสงสัยต่อผู้รับผิดชอบโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญครับ ประธาน     เมื่อไม่มีกรรมการท่านใดสงสัยหรือซักถามเพิ่มเติม กระผมขอมติที่ประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบอนุมัติโครงการตามประกาศฯข้อ 7 (2)  โปรดยกมือขึ้น มติที่ประชุม เห็นชอบ    จำนวน  11 คน ไม่เห็นชอบ    จำนวน  -  คน นายดลรอหมาน  บาหลัง 3.โครงการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาสนสถาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาสนสถานในพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล 2.เพื่อรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาสนสถานในพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล 3.เพื่อให้ประชาชนได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปละการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนให้ลดลงจนน้อยที่สุด เป้าหมาย
1.โรงเรียน จำนวน 12 แห่ง 2.ศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 7 แห่ง 3.มัสยิดและบาลาย จำนวน 18 แห่ง 4.วัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 3 แห่ง
งบประมาณ  รวมเงินทั้งสิ้น 107,400 บาท ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.สามมารถควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาสนสถานในพื้นที่ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 19 คน
ประกอบด้วย