กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 62-L5208-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.พิจิตร
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจันทราพร จริยานุกูล
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.991,100.561place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2561 30 ก.ย. 2562 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นบัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา       ตำบลพิจิตร เป็นอืกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลพิจิตร พบว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2560 มีผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลพิจิตรจำนวน 11 ราย และระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กรกฎาคม 2561 มีผู้ป่วยในพื้นที่ตำบลพิจิตร จำนวน 5 ราย การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งของโรงเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากการต้ังรับไปสู่นโยบาลเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญาที่เกิดขค้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลพิจิตร

พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมผุ้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิจิตร
  3. ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ
  4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการและแจ้งประสานผู้เกี่ยวข้องทราบ
  5. ดำเนินโครงการ   5.1 ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันสถานที่สำคัญเช่น วัด/สำนักสงฆ์ และโรงเรียน   5.2 เดินรณรงค์โดยผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วตำบลพิจิตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่่บ้าน พนักงานส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลพิจิตร เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของโรคไข้เลือดออก พร้อมแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย หยอดทรายกำจัดยุงลายให้แหล่งน้ำ คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง
      5.3 ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันควบคุมโรคกรณีพบผู้ป่วย (ฉีดพ่นหมอกควันรัศมีหนึ่งร้อยตารางเมตร บริเวณรอบบ้านผู้ป่วย) พร้อมทั้งใช้สเปรย์ยาฉีดยุงฉีดโดยทั่วภายในบ้านาพักผู้ป่วย และกรณีหมู่บ้านใดพบผู้ป่วยต้ังแต่สามรายขึ้นไป จะดำเนินการฉีดพ่นหมกควันครอบคลุมทุกครัวเรือนภายในหมู่บ้านนั้น   6. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  2. ยุงลายตัวแก่และลูกน้ำยุงลายถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง
  3. ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2561 09:31 น.