กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะโละ "smart kids"
รหัสโครงการ 60-2986-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพรรัตนซ้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ย. 2560 20 ก.ย. 2560 5,200.00
2 22 ก.ย. 2560 22 ก.ย. 2560 37,200.00
รวมงบประมาณ 42,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็ก โดยต้องการให้เด็กไทบมีความสมบูรณ์พร้อม ทั้ง 4 ด้าน คือ มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการที่ดีฟันไม่ผุ และการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จังหวัดปัตตานีจึงได้นำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นจุดเน้นในการพัฒนาให้เด็กปัตตานีมีความสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ด้าน เช่นกัน ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2559 พบเด้กที่มีพัฒนาการล่าช้า จำนวน 4 ราย เด็กน้ำหนักน้อย จำนวน ราย ส่วนใหญ่พบปัญหาฟันผุและวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ทัศนคติของผู้ปกครองที่ไม่ยอมนำบุตรมารับวัคซีนด้วยหลายเหตุผล จึงได้มีการสำรวจข้อมูลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา ซึ่งมี่เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 375 คน และพบว่าอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ยังต่ำอยู่มาก เพียงร้อยละ 75.26 และอัตราการมารับบริการตามนัดที่คลินิกเด็กดี ร้อยละ 48.84 มีผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่ยอมให้บุตรรับวัคซีนป้องกันโรค จำนวน 36 ราย จงได้มีการติดตามสอบถามและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่า ทัศนคติของผู้ปกครอง ในการนำบุตรมารับวัคซีนเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงจากหลังการรับวัคซีน และบางครอบครัวเชื่อว่าวัคซีนไม่ฮาลาล และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ข้อจำกัดขอเจ้าหน้าที่ในการลงให้บริการในพื้นที่ จากสถาณการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสบปัญหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ในเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี ไม่ได้ตามเกณฑ์ สำหรับในปีนี้ นอกจากเน้นการติดตามเด็กให้มารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์แล้ว ทางศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจะบูรณาการเรื่องของการพัฒนาการ โภชนาการและเรื่องฟันดีไม่ผุ ไปพร้อมๆกัน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจึงปรับกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองให้นำบุตรมารับบริการที่คลินิกเด็กดี และทำงานเชิงรุกในชุมชนให้มากขึ้น มีการรณรงค์ให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของเด็กตะโละแมะนามี Smart Kits โดยการเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้ปกครองและใช้พลังขัเคลื่อนของอาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเสริมแรงจูงใจ ด้วยการจัดทำแสตมป์สะสมคะแนนมาแลกของรางวัล โดยหวังว่าจะทำให้เด็กได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สมบูรณ์มีสุขภาพดี 2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  1. เด็กแรกเกิด - ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักและไวรัสตับอักเสบบีครบ 3 เข็ม ร้อยละ 90
  2. เด็กแรกเกิด 9-12 เดือน ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยรมัน คางทูม ร้อยละ 95
  3. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ได้รับวัคซีน ไข้สมองอักเสบครบ 2 เข็ม ร้อยละ 90
  4. เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบครบ 3 เข็ม ร้อยละ 90
  5. เด็กแรกเกิด - 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 90
200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการและขออนุมัติ
  2. ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการ โภชนาการ การดูแลฟันและวัคซีน
  3. กิจกรรมตรวจสอบสมุดสีชมพู วิเคราะห์ข้อมูลเด็กเกี่ยวกับพัฒนาการ โภชนาการ ฟันและวัคซีน 3.1 ส่งเสริมกิจกรรมให้ผู้ปกครองและเด็กมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเด็ก 3.2 ให้คำแนะนำในการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารตามวัย เพื่อให้เด็กมีโภชนาการที่ดีสมส่วน 3.3 ส่งเสริมการแปรงฟันที่ถูกวิธี และเคลือบฟลูออไรด์มนเด็กที่มีฟันงอกใหม่ทุกราย 3.4 ผู้ปกครองที่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนจะได้รับการสอนจากเจ้าหน้าที่ให้เรียนรู้เรื่องวัคซีนที่ได้รับ ในวันที่มารับริการ 3.5 ให้ความรู้และสอนแก่ผู้ปกครองในการติดตามอาการหลังได้รับวัคซีนแต่ละครั้งและเรียนรู้วิธีการป้องกันและวิธีการดูแลหลังได้รับวัคซีน
  4. กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี โดยแบ่งเป็น 4 ช่วงอายุ ดังนี้ 4.1 จัดประกวดเด้กน้อยที่มีสุขภาพดี สำหรับเด็กอายุ 1 ปี 4.2 จัดประกวดเด็กน้อยที่มีสุขภาพดี สำหรับเด็กอายุ 2 ปี
    4.3 จัดประกวดเด็กน้อยที่มีสุขภาพดี สำหรับเด็กอายุ 3 ปี
    4.4 จัดประกวดเด็กน้อยที่มีสุขภาพดี สำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี โดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ 1.พัฒนาการสมวัย
    1. น้ำหนักตามเกณฑ์
    2. ฟันสวย ไม่มีฟันผุหรือผุน้อย
    3. ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  5. กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก 9 , 18 , 30 , 42เดือน 5.1 ส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ตามวัย 5.2 ส่งเสริมพัฒนาการและส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กตะโละแมะนามีพัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันไม่ผุ สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2560 11:02 น.