กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจคัดกรองเเละจัดการพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ม.1
รหัสโครงการ 62-L3327-02-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่บ้าน ม.1 บ้านคลองใหญ่
วันที่อนุมัติ 7 พฤศจิกายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวงตการณ์ วงษ์เพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.26,100.074place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองเเละภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ภาวะเสี่ยงลดลง

0.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพหรือการดูเเลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวเเละชุมชน

ประชาชนมีความรู็

0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเเละได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ

กลุ่มเสี่ยงได้ขึ้นทะเบียน

0.00
4 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามเเนวทางที่กำหนด

ผู้ป่วยได้รับการรักษา

0.00
5 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

กลุ่มเสี่ยงลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ เเละขอสนับสนุนงบประมาณ
2.ประชุมชี้เเจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายเเละวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในเเนวเดียวกัน 3.จัดทำเเผนการออกปฎิบัติเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง เเละภาวะอ้วนลงพุงประชากร 15 ปี ขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ
4.ประสาานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือเเละสนับสนุนกิจกกรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาลตำบลคลองใหญ่ ผู้นำท้องถิ่น อสม.เเละภาคีเครือข่าย 5.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการ ฯ
6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่าง ๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ ฯ 1.เเต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม.มีส่วนร่วม 2.จัดประชุม อสม. เชียวชาญ ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจเเละหลอดเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักเเละคำนวณดัชนีมวลกาย
3.ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม. นัดประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
4.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.ประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยในกลุ่ม 15 - 34 ปีคัดกรองด้วยวาจาโดยใช้เเบบฟอร์ม Veral Screening ถ้าพบความเสี่ยง 3 ใน 4 ข้อจึงเจาะเลือดในกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปถ้ามีความเสี่ยง 1 ใน 7 ข้อ จึงเจาะเลือด ส่วนการวัดความดันโลหิตตรวจวัดทุกราย เเจ้งผลการคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมเเนะนำ ให้ความรู้ในการดูเเลสุขภาพ เเนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ เเละลงทะเบียน เเยกกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic
5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตรวจยืนยันต่อโรค Metabolic โดยการตรวจโรคความดันโลหิต หาระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดรอบเอว
6.บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรเเกรม JHCIS
ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์เเละประเมินผล
1.สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic เเยกรายหมู่บ้านเเละคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. เทศบาล ทราบภาวะของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม เเนะนำกรดูเเลตนเอง ปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
2.รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา เเละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเเลทราบภาวะสุขภาพเเละความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเเละโรคความดันโลหิตสูง 2.ประชาชนตระหนักเเละใส่ใจในการดูเเลสุภาพตนเอง ครอบคัวเเละชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโยการปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม 3.ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง 4.ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบุมโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง 5.ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยเเละตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2561 10:31 น.