กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L8428-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.บ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำรัส ช่วยออก
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านนาท่าม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (20,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ แต่พบว่าในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้นซึ่งการระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ทั้งนี้เนื่องจาก สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุที่สำคัญของ การดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าว คือ ประชาชนขาดการตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคขาดการเอาใจใส่ ในการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเอง
ชมรมอสม.บ้านนาท่าม ได้เล็งเห็นว่า ควรจัดทำโครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
อย่างต่อเนื่องโดยใช้กลวิธีการเชิญชวน โน้มน้าวใจในรูปแบบของการยกย่อง
ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สถานการณ์โรคของโรคอย่างทั่วถึงและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงอันตรายของโรค
เข้าร่วมกิจกรรมการเฝ้าระวังโดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเองอย่างจริงจัง
คลอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อลดอัตราการเกิดโรค โดยหน่วยงานภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนจะต้องร่วมมือ กันในการดำเนินงานเพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดี ของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1…เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก

1.ประชาชนในพื้นที่มีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออกร้อยละ80

80.00
2 ข้อที่ 2…เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน

2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้เกิดไข้เลือดออกในหมู่บ้าน /ชุมชน ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 58 20,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 1. กิจกรรมรณรงค์ ๔ ครั้ง 58 20,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน อสม.และอื่นๆร่วมกันวางแผนดำเนินการ   2. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน และขอความร่วมมือให้นักเรียน ประชาชน ร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย   3. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี   3.1. ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชนและโรงเรียนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน   3.2. ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือนและโรงเรียนโดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่   3.3. ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่นปลาหางนกยูง

  4.จัดซื้อสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์พ่นกันยุง โลชั่นทากันยุง   5.ติดตามประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๗๙ ต่อแสนประชากร ๒.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก ๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๔. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชนโรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2561 08:47 น.