โครงการเผชิญภัยระบาดโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการเผชิญภัยระบาดโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 62-L2479-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต.บูกิต |
วันที่อนุมัติ | 27 กันยายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 60,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางปารีดะ แก้วกรด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.182,101.828place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่ อบต. บูกิต ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัด นราธิวาส เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้ คือ ปี พ.ศ. 2559 จำนวน.11 ราย พ.ศ.2560 . จำนวน 8 รายและ พ.ศ. 2561 จำนวน 8 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้ซิกาที่กำลังเป็นปัญหาของชุมชน 1.บ้านเรือนหรือจุดพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของไข้เลือดออกได้รับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายอย่างน้อยร้อยละ 100 ของพื้นที่ซึ่งมีการระบาด 2.ทีมเผชิญโรคระบาดเคลื่อนที่เร็ว (SSRT) ของชุมชนลงสอบสวนโรคร้อยละ 100 ของพื้นที่ระบาด |
20.00 | |
2 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน
|
10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 937 | 60,000.00 | 9 | 56,500.00 | 3,500.00 | |
12 ธ.ค. 61 | จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ โครงการเผชิญภัยระบาดโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2562 | 5 | 35,500.00 | ✔ | 35,500.00 | 0.00 | |
12 ธ.ค. 61 | -ค่าป้ายไวนิลการรณรงค์รณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันการระบาดไข้เลือดออก ร่วมคว่ำกะลากำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย | 500 | 500.00 | ✔ | 500.00 | 0.00 | |
17 ธ.ค. 61 | ประชุมคณะทำงานร่วมระหว่าง อบต.ทีม SRRT รพ.สต. ครั้งที่ 1 | 40 | 1,000.00 | ✔ | 0.00 | 1,000.00 | |
18 ธ.ค. 61 - 6 ม.ค. 62 | ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน | 12 | 13,500.00 | ✔ | 13,500.00 | 0.00 | |
20 ธ.ค. 61 | ลงพื้นที่ปฏิบัติการชุมชน จัดการขยะ ปรับสภาพแวดล้อมภายในครัวเรือน ครั้งที่ 1 | 60 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | 0.00 | |
24 ธ.ค. 61 | ลงพื้นที่ปฏิบัติการชุมชน จัดการขยะ ปรับสภาพแวดล้อมภายในครัวเรือน ครั้งที่ 2 | 60 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | 0.00 | |
25 ธ.ค. 61 | ประชุมคณะทำงานร่วมระหว่าง อบต.ทีม SRRT รพ.สต. ครั้งที่ 2 | 40 | 1,000.00 | - | - | ||
26 ธ.ค. 61 | ลงพื้นที่ปฏิบัติการชุมชน จัดการขยะ ปรับสภาพแวดล้อมภายในครัวเรือน ครั้งที่ 3 | 60 | 1,500.00 | - | - | ||
28 ธ.ค. 61 | ลงพื้นที่ปฏิบัติการชุมชน จัดการขยะ ปรับสภาพแวดล้อมภายในครัวเรือน ครั้งที่ 4 | 60 | 1,500.00 | ✔ | 1,500.00 | 0.00 | |
2 ม.ค. 62 | อสม.และประชาชน เด็กเยาวชนลงประเมินสภาพแวดล้อมครั้งที่1 เพื่อดูดัชนีค่าลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน ปล่อยปลาหางนกยูงที่ให้ชมรมผู้สูงอายุเลี้ยงไว้หรือทรายอะเบต | 50 | 1,250.00 | ✔ | 1,250.00 | 0.00 | |
7 ม.ค. 62 | อสม.และประชาชน เด็กเยาวชนลงประเมินสภาพแวดล้อมครั้งที่ 2 เพื่อดูดัชนีค่าลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน ปล่อยปลาหางนกยูงที่ให้ชมรมผู้สูงอายุเลี้ยงไว้หรือทรายอะเบต | 50 | 1,250.00 | ✔ | 1,250.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 937 | 60,000.00 | 9 | 56,500.00 | 3,500.00 |
วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม)
1.จัดประชุมร่วมกันระหว่างคณะทำงาน อบต.และทีม SSRT โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตเพื่อวางแผนกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการและแต่งตั้งคณะทำงาน อสม.และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน
- ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.ประชุมชี้แจงและอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกหมู่บ้าน ที่ประชุมผู้นำชุมชน พร้อมคัดเลือกตัวแทนครอบครัวและผู้สูงอายุที่ยินดีเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ให้เข้าร่วมโครงการปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
3.ปฏิบัตการเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ครั้งที่ 1 ด้วยการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการขยะเปียก (ด้วยการหมักในถัง) และการแยกขยะแห้งเพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ (การจัดเก็บและกำจัดด้วยถังขยะแยกประเภท และการแปรรูปขยะให้เป็นประโยชน์) 4.การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์เผชิญเหตุการระบาดของไข้เลือดออกระบาด เช่น เครื่องพ่นหมอกควันยุงลาย(การจัดซื้อและดูแลความพร้อมสำหรับใช้งาน สารเคมีสำหรับการพ่นหมอกควัน น้ำมันเชื้อเพลิง)
5.การปฏิบัติการชุมชนเผชิญเหตุพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของไข้เลือดออกระยะ 100 เมตรรอบบ้านเป้าหมาย จำนวน14แห่ง
6.อสม.ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ 2 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย
7. ประชาสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน และในที่ประชุมระดับหมู่บ้านและตำบล
8. ให้ประชาชนเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นแหล่งขยายพันธุ์พร้อมการนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำให้กับครัวเรือนที่เป็นเป้าหมายรับผิดชอบ
9. จัดอบรมการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี
10.ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต
1.ครัวเรือนที่มีการระบาดจากโรคไข้เลือดออกถูกได้รับการสอบสวนโรคและดำเนินการพ่นหมอกควัน 2.ทุกครัวเรือนได้รับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและไม่มีลูกน้ำยุงลาย 3.ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2561 19:24 น.