กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด


“ ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ ”

ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวนาฎนธี ผิวเหลือง

ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ

ที่อยู่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 22/60 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2560 ถึง 31 กรกฎาคม 2560


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 22/60 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 43,210.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเริ่มก้าวสู่ประเทศรัฐสวัสดิการ ที่มุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และในขณะที่สังคมไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ายังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้สู่สังคมภายนอก อันเนื่องมาจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอกที่นอกเหนือจากบ้านพักและชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของเขาแต่ละบุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิตจากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม ในความเป็นจริง “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษหากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษจากโลกภายนอก และจากประสบการณ์เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อเด็กพิเศษมากขึ้น และหากเด็กพิเศษเองได้มีกระบวนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนา เรียนรู้อย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ามีกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาสในการมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็กและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงริเริ่ม “โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ” ขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษและครอบครัวเด็กพิเศษได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษต่อไป โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสังคม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม
  2. เพื่อให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่นๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 80
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. กลุ่มเป้าหมายโครงการเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ๒. สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย และสมาชิกภายในศูนย์การศึกษาพิเศษมีความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กๆ ออกสู่สังคมภายนอกและสังคมมีโอกาสได้รับรู้และเรียนรู้เด็กพิเศษและครอบครัว ๓. กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีคณะครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษเข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมจัดทำโครงการฯ จำนวน 30 คน ผลลัพธ์  คณะครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์การศึกษาพิเศษมีความพร้อมในการจัดงานโครงการฯ

     

    35 30

    2. อบรมให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็กพิเศษแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล

    วันที่ 2 สิงหาคม 2560 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 190 คน ผลลัพธ์ เด็กพิเศษได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ 

     

    194 190

    3. ออกกำลังกายพัฒนาผู้เรียน

    วันที่ 8 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีผู้ปกครองและเด็กพิเศษเข้าร่วมกิจกรรม 190 คน ผลลัพธ์ สมาชิกในครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย และสมาชิกภายในศูนย์การศึกษาพิเศษมีความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและมีความมั่นใจมากขึ้นในการพาเด็กๆ ออกสู่สังคมภายนอกและสังคมมีโอกาสได้รับรู้และเรียนรู้เด็กพิเศษและครอบครัว

     

    76 190

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลการดำเนินงานเชิงปริมาณและเชิงคุรภาพ 1.เชิงปริมาณ -เด็กพิการ จำนวน 80 คน - ผู้ปกครองเด็กพิการ จำนวน 80 คน - บุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล จำนวน 30 คน 2. เชิงคุณภาพ -เด็กพิการได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจสุขภาพและการออกกำลังกาย ทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข - ผู้ปกครองเด็กพิการ รู้และเข้าใจวิธีการส่งเสริมสุขภาพและดูแลลูกพิการและร่วมกิจกรรมกับบุตรหลานและบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษได้อย่างมีความสุข - บุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูลรู้และเข้าใจวิธีการส่งเสริมสุขภาพและดูแลลูกพิการและร่วมกิจกรรมกับเด็กพิการและผู้ปกครองเด็กพิการได้อย่างมีความสุข

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม
    ตัวชี้วัด : เด็กกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพจากบุคลากรทางการแพทย์ และได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และสังคมจากการร่วมกิจกรรม

     

    2 เพื่อให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่นๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองได้เข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างผู้ปกครองด้วยกันและครู

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 80
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้จากกิจกรรม (2) เพื่อให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันกับครอบครัวอื่นๆ ตลอดจนการเสริมสร้างกำลังใจที่ดีซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันโดยผ่านกิจกรรมเป็นตัวเชื่อม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 22/60

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวนาฎนธี ผิวเหลือง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด