กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 23/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมริณาแดงงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียน เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยรุ่น จึงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารค่อนข้างสูง เพื่อใช้ในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อสำหรับการเจริญเติบโตและเพื่อให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ปกติตลอดทั้งการประกอบกิจกรรมและการออกกำลังกาย โดยการได้รับอาหารครบ 5 หมู่ นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การดูแลสุขอนามัยในช่องปากนับว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะว่านักเรียนระดับประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 7 พ.ศ.2555โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่าเด็กอายุ 12 ปีเป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 56.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(DMFT) 1.6 ซี่ต่อคน และผลการสำรวจฟันผุในจังหวัดสตูล ในปี พ.ศ.2558พบว่าเด็กอายุ 12 ปีมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(DMFT) เท่ากับ 0.23 ซี่ต่อคน และผลการสำรวจฟันผุในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลคลองขุดพบว่า มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด(DMFT) เท่ากับ1.82 ซี่ต่อคน ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคฟันผุมากกว่าในระดับจังหวัดและระดับประเทศ การดูแลสุขภาพร่างกายและสุขอนามัยในช่องปากจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญแก่เด็กในวัยเรียนพร้อมกับการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการดูแลสุขภาพช่องปากในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ตระหนักเห็นว่าการดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพในช่องปากนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ประจำปีงบประมาณ 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุดเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการดูแลสุขอนามัยในช่องปากมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมสอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปดำเนินการใช้ชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบ และกระบวนการการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ โรงเรียนประถมศึกษาและลดโอกาสการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียน

กลุ่มเป้าหมายสามารถแปรงฟันถูกวิธี และมีผู้ป่วยป่วยด้วยโรคฟันผุไม่เพิ่มขึ้น

2 เพื่อส่งเสริมการสร้างสุขนิสัยที่ถูกต้องในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกบริโภคอาหารได้ถูกต้องมีประโยชน์ต่อร่างกาย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ ๓. ติดต่อประสานงานกับกลุ่มเป้าหมาย ๔. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
๕. ประเมินโครงการ กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงาน โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโรงเรียนเครือข่ายเด็กไทยฟันดีโรงเรียนในเขตที่รับผิดชอบ 2.ประชุมคณะกรรมการ (ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข,ครูทุกโรงเรียนอย่างน้อยโรงเรียนละ 1 คน, อปท.,ผู้ปกครอง,ผู้นำชุมชน,คณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ 3.กำหนดนโยบายการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพของเครือข่ายร่วมกัน 4.จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน 4.1การจัดการเรียนการสอนเรื่องทันตสุขภาพ 4.2 กิจกรรมการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวัน - เปิดเพลงนำประมาณ 2-5 นาที เพื่อให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ การแปรงฟัน - จัดให้มีผู้นำนักเรียนควบคุมการเข้าแถวเพื่อไปยังจุดแปรงฟัน - นักเรียนแปรงฟันพร้อมกันตามเพลงประมาณ 5 นาที - ผู้นำนักเรียนตรวจฟันและบันทึกผลหลังการแปรงฟัน 4.3 จัดเมนูอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายภายในโรงเรียน 4.4 จัดทำนวัตกรรมทันตสุขภาพ 5.ติดตามผลการดำเนินงานในโรงเรียน 6.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ 7.นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบ และกระบวนการการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาในรูปแบบเครือข่ายและมีการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน 2.นักเรียนมีสุขนิสัยที่ถูกต้องในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2560 11:13 น.